Page 214 - kpiebook65022
P. 214

และ NGOs มีแนวโน้มที่ NGOs จะเข้าพยุงระบอบอ านาจนิยมแต่ก็ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ย่ าแย่ในจีนได้
               (Xu and Byrne, 2020)

                       3) ภาคประชาชน

                       บทบาทของภาคประชาชนที่พบ ได้แก่  1) บทบาทจ ายอมตามการตัดสินใจของรัฐ เช่น ประชาชนที่

               เป็นลูกจ้างรับท าป่าไม้ตามที่นายทุนได้รับสัมปทาน หรืออพยพพี่น้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ป่าเพื่อให้มีจ านวน
               ประชากรในพื้นที่มากพอส าหรับเพิ่มจ านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ หรือมีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อ
               ท าพื้นที่การเกษตร  2) บทบาทในการคัดค้านและรณรงค์ เช่น การคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนภูมิพลที่เป็น
               เขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทยใน พ.ศ.2504 ซึ่งชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดตากและล าพูน

               กับบางส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ แสดงออกโดยการสร้างวีรชนขึ้นมาเองและไม่อพยพออกจากพื้นที่ที่จะสร้าง
               เขื่อน หรือการเกิดชมรมนักศึกษาขึ้นในช่วง พ.ศ.2512-2516 อันเกิดจากมีการปลดล่อยน้ าเสียจากโรงงาน
               อุตสาหกรรมน้ าตาล และมีการรณรงค์ของนักศึกษาเรื่องอากาศเสีย การตั้งโรงงานปิโตรเคมี หรือในช่วงปลาย
               พ.ศ.2516 การเคลื่อนไหวของนักศึกษาต่อกรณีการเข้าไปล่าสัตว์ในพื้นที่ป่าของนายทหารชั้นผู้ใหญ่จนบาน

               ปลาย น ามาสู่การประท้วงขับไล่ผู้น าทางการเมืองในขณะนั้น หรือการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษา 15 สถาบัน ที่
               มีบทบาทเคลื่อนไหวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2521-2540 อย่างการเคลื่อนไหวต่อต้าน
               เขื่อนน้ าโจนที่กาญจนบุรี  3) บทบาทการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกทางกฎหมาย โดยอ้างสิทธิตาม
               รัฐธรรมนูญ เช่น คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าโดยชาวบ้านบ่อนอกในช่วง พ.ศ.2541-2543 หรือการเคลื่อนไหว

               คัดค้านประเด็นพลังงานในพื้นที่ภาคใต้เพื่อไม่ให้รัฐให้สัมปทานกับเอกชนโดยไม่ค านึงถึงสิทธิมนุษยชน หรือ
               การเคลื่อนไหวเพื่อใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์

                       จากแนวทางการเคลื่อนไหวและบทบาทของภาคประชาชนดังข้อค้นพบดังกล่าว เห็นได้ว่าการเข้าร่วม
               เคลื่อนไหวต่อการด าเนินงานตามนโยบายสิ่งแวดล้อม ภาคพลเมืองก็มีแนวทางขับเคลื่อนที่หลากหลายมากขึ้น
               โดยที่การเคลื่อนไหวในอดีตในรูปแบบของการชุมนุมประท้วงก็ยังมีอยู่ ยกตัวอย่างกลุ่มชาติพันธ์ุม้งปรับตัวเป็น

               ผู้อนุรักษ์ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการช่วงชิงอ านาจรัฐ (ดริญญา โตตระกูล, 2546) กลุ่มผู้หญิงที่ได้เข้าร่วมเครือข่าย
               กลุ่มเกษตรกรมีความตื่นตัวในปัญหาตนเองและปัญหาสังคมมากขึ้น เช่น ไปเรียกร้องยังสถานที่ราชการ
               (ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข, 2550) การต่อสู้ตามช่องทางของกฎหมายของชาวบ้านกลุ่มแม่เมาะ (สินทบ

               มั่นคง, 2552) การยื่นหนังสือผ่านกลไกของระบบราชการ การใช้สิทธิตามกฎหมาย การคว่ าบาตรทางสังคม
               (วินิจ ผาเจริญ, 2561) การกดดันโดยชุมนุมประท้วงปิดถนน หรือสื่อสารกับสังคม (วินิจ ผาเจริญ, 2561) หรือ
               แกนน าชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่ซา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้คนในชุมชนอื่น และขยายเครือข่ายการท างาน
               ร่วมกับองค์กรภาคีทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ แล้วท าการผลิตเพื่อการอนุรักษ์ (ประสิทธิ์

               ลีปรีชา และกนกวรรณ มีพรหม, 2562) หรือการใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์พลเมือง และให้ประชาชนมีบทบาท
               ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ได้รับปัญหามลพิษ (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563) สรุปได้ว่าขบวนการ
               ภาคประชาชนมีการเปลี่ยนวิธีที่หลากหลายมากขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มใช้แนวทางแบบประนีประนอมมากขึ้น
               (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ, 2563) การเคลื่อนไหวของประชาชนนี้ถือได้ว่า เป็นไปเพื่อการเรียกร้อง

               สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐต้องคุ้มครองสิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน (คนึงนิจ
               ศรีบัวเอี่ยม และคณะ, 2560)

                       อย่างไรก็ดี ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า แม้ทิศทางและแนวโน้มการเข้าไปมีส่วนร่วมทางนโยบายสิ่งแวดล้อมจะ
               มีบทบาทมากขึ้นก็ตาม แต่ก็มีการออกกฎหรือระเบียบที่มีลักษณะกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น
               ระเบียบในการรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดท ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ที่หน่วยงานรัฐและ



                                                           201
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219