Page 219 - kpiebook65022
P. 219
2564) จึงจ าเป็นต้องทบทวนและแก้ไขกฎระเบียบที่ยังคงจ ากัดการมีส่วนร่วม รวมทั้ง ควรมีการพัฒนาระบบ
การมีส่วนร่วมแบบอื่นควบคู่กันไปด้วย เช่น การจัดท าประชามติแบบที่ไม่มีผลผูกพัน และมีกองทุนเพื่อการท า
รายงานแบบวิจัยเช่น EHIA ฉบับประชาชน เพื่อมีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ภาคประชาชนมาใช้
ในกระบวนการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน หรือมีระบบส่งเสริมการวิจัยฐานชาวบ้านที่ให้ชุมชนได้มาเข้า
ร่วมในงานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้ง การตัดสินใจอนุมัติการประเมินผลกระทบจากนโยบายหรือโครงการพัฒนา
ต่าง ๆ ควรอยู่ภายใต้องค์กรอิสระ
3) ควรมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง
ข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจัดให้เป็นสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีหรือราคาถูก แนวทางนี้จะท าให้ประชาชน
เข้าถึงข้อมูลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีอยู่ ดังที่ อรพิน เลิศพรสุทธิรัตน์ และวนิดา พรมหล้า เสนอแนะ
แนวทางความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเชิงกระบวนการ ที่มีกฎหมายให้สิทธิประชาชนในการตรวจสอบดูข้อมูล
ของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในส่วนของส่วนราชการ ภูมิภาค และท้องถิ่น และยังสอดคล้องกับ แนวทางการ
กระจายข่าวสารการให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล (อรพิน เลิศพรสุทธิรัตน์ และวนิดา พรมหล้า, 2564)
ภาครัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
ควรมีการทบทวน วิเคราะห์ และส ารวจเชิงรุก เพื่อค้นหาความต้องการกฎหมายด้าน
สิ่งแวดล้อมที่จ าเป็น เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือสอดคล้องกับเจตนารมณ์การมีส่วนร่วม
ของประชาชนให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก ข้อค้นพบที่ได้แสดงให้เห็นว่ากฎหมายหลายฉบับมีความ
ล้าสมัยและไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง และหลายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ เช่น
การส ารวจและวิเคราะห์ความจ าเป็นของการออกกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก
การด าเนินโครงการสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายว่าด้วยพลังงานหมุนเวียน หรือความจ าเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ.
ชุมนุมสาธารณะที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียกร้องทางสิ่งแวดล้อมของประชาชน เพราะท าให้การใช้สิทธิทาง
สิ่งแวดล้อมของประชาชนกลายเป็นความเสี่ยงต่อโทษทางอาญา เป็นต้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละบริบทของพื้นที่ ที่
เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจน มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง อปท.ใกล้เคียง เพื่อ
จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันได้ เช่น การบูรณาการองค์ความรู้และระบบบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร
เป็นต้น เนื่องจาก การจัดการขยะและมลพิษเป็นปัญหาวิกฤตส าหรับท้องถิ่นหลายแห่ง เพราะ หลายพื้นที่ก้าว
สู่ภาวะความเป็นเมืองและมีความเป็นเมืองสูง ในท านองเดียวกัน ในเชิงโครงสร้างจ าเป็นต้องมีการกระจาย
อ านาจในการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่
ใกล้ชิดพื้นที่จึงท างานที่สนองต่อความหลากหลายได้ดีกว่า
ภาคประชาสังคมและประชาชน
1) ควรมีการปรับรูปแบบการเคลื่อนไหว โดยมองหาเครือข่ายหรือแนวร่วมในการเคลื่อนไหว
เพื่อสร้างกติกาสังคมร่วมกัน กลุ่มเครือข่ายนั้น มาช่วยกันสร้างองค์ความรู้แล้วเคลื่อนไหวสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
และสร้างสรรค์ แม้ไม่มีประเด็นปัญหาแต่ก็ยังมีพื้นที่พูดคุยเพื่อเสนอทิศทางการพัฒนาร่วมกัน มากกว่ามุ่ง
คัดค้านอย่างเดียว โดยการสื่อสารควรผ่านรูปแบบหลากหลาย เช่น สื่อโซเชียล ดังที่ ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย
ทองอยู่ เคยเสนอไว้ว่าภาคประชาสังคมและประชาชนควรมียุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้หลากหลายรูปแบบ
206