Page 220 - kpiebook65022
P. 220

ไม่ว่าจะเป็นยุทธวิธีตามช่องทางระบบการเมืองปกติ หรือวิธีการท้าทายแบบอื่น (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย
               ทองอยู่, 2553)

                            2) ควรมีการสร้างระบบตัวแทนหรือนักปฏิบัติของภาคประชาสังคมที่มีพลังให้หลากหลายและ

               มากขึ้น เช่น ประชาสังคมที่เป็นตัวแทนจากสมาคมเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น เมื่อมีตัวแทนประชาสังคมที่ชัดเจน
               และหลากหลายก็จะท าให้พื้นที่การเมืองของรัฐสามารถระบุตัวแทนที่มาจากภาคประชาสังคมได้ง่ายมากขึ้น
               และภาคประชาสังคมเองก็จะได้มีโอกาสในการเมืองและนโยบายสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย

                            พรรคการเมือง

                            จากข้อค้นพบ พรรคการเมืองเป็นตัวแสดงที่มีความส าคัญต่อการเสนอนโยบายแก่ภาค
               ประชาชน และเมื่อสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งแล้วยังมีอิทธิพลต่อการผลักดันหรือคัดค้านบางนโยบายใน

               รัฐสภา แต่พรรคการเมืองไทยน าประเด็นสิ่งแวดล้อมไปสู่ช่องทางดังกล่าวน้อยเกินไป ดังนั้น พรรคการเมือง
               ควรเสนอแนวนโยบายที่มีมุมมองของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นมิติสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น การด าเนินการ
               ของพรรคการเมืองนี้ สอดคล้องกับ ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ (2558) ที่เสนอให้พรรคการเมืองไทยเสนอ
               นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ใช้แนวคิดการเมืองสีเขียวและพรรคการเมืองสีเขียวมาประยุกต์ใช้ สร้างพื้นที่

               การเมืองสีเขียวกับภาคประชาชน รวมถึงไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ

                       6.5.3 ข้อเสนอแนะงานวิจัยในอนาคต

                            งานวิจัยในอนาคตเชิงประเด็น

                            คณะผู้วิจัยขอเสนองานวิจัยในอนาคตเชิงประเด็นที่พบจากการศึกษาครั้งนี้ว่าเป็นประเด็นวิกฤต

               ด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้แก่ มลพิษ ยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และ
               ความยั่งยืน ดังนี้

                            1) มลพิษ ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษมี
               แนวโน้มที่จะเข้มงวดและเพิ่มบทลงโทษมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งที่อาจจะสามารถป้องกันและแก้ไขได้ใน
               เชิงการใช้มาตรการบังคับและควบคุม หากแต่มาตรการอื่นก็มีความจ าเป็นเช่นกัน จากข้อค้นพบแสดงให้เห็น

               ว่า ประเทศไทยมีอุปสรรคในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายกับอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่ก่อมลพิษ จึง
               ควรมีการศึกษาในอนาคตเกี่ยวกับประเด็นมลพิษในเชิงมาตรการ นอกเหนือจากกฎหมายและการบังคับใช้
               กฎหมาย ดังที่ นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ เสนอว่าจะท าอย่างไรให้สถานประกอบการที่อาจก่อให้เกิด
               มลพิษมีบทบาทในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมกันกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมี

               ประสิทธิภาพ (นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ, 2563)

                            2) ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม จากข้อค้นพบฝ่ายตุลาการมีบทบาทส าคัญในการสร้างบรรทัดฐาน
               การพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลให้น าไปสู่การระงับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
               ได้ ดังตัวอย่างกรณี 76 โครงการมาบตาพุด หรือค าพิพากษาของศาลในหลายคดีที่ให้หน่วยงานรัฐต้องจัดท า
               แผนฟื้นฟูหรือสถานประกอบการต้องด าเนินการเยียวยาให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ หากแต่ยังขาดกฎหมาย

               และแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเยียวยาและฟื้นฟู ที่จะท าให้เกิดหน่วยงานรับผิดชอบ แนวทาง และ
               งบประมาณ จึงควรมีการศึกษาเพื่อร่างกฎหมายหรือพัฒนาแนวทางการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ
               เช่น ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่หรือไม่อย่างไร กองทุนส าหรับชดเชยและเยียวยาควรเป็นอย่างไร
               กระบวนการชดเชยและเยียวยาที่เหมาะสมเป็นอย่างไร สถานประกอบการมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร ฯลฯ



                                                           207
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225