Page 218 - kpiebook65022
P. 218

6.5 ข้อเสนอแนะ


                       6.5.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                       ภาครัฐควรจัดท านโยบายที่มาจากข้อตกลงและกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนหลากหลายภาค
               ส่วนในแต่ละพื้นที่ เป็นแนวทางพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนร่วมกันโดยไม่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงอย่าง
               เดียว เนื่องจาก ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลแต่ละสมัยต่างก าหนดและด าเนินนโยบายต่างกัน เมื่อเปลี่ยน
               รัฐบาลก็เปลี่ยนนโยบาย ท าให้นโยบายในระดับประเทศนั้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่และกระทบ

               ต่อการขับเคลื่อนที่แต่ละภาคส่วนได้ร่วมกันด าเนินการมา ดังนั้น การก าหนดนโยบายของรัฐบาลจึงต้องมี
               เป้าหมายชัดเจนและสะท้อนความสมดุลเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนค านึงถึงศักยภาพในการ
               พัฒนาของแต่ละพื้นที่ด้วย


                       6.5.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ

                            หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

                            1) สืบเนื่องจากการบริหารงานของหน่วยปฏิบัติทางนโยบายยังขาดการบูรณาการระหว่าง
               หน่วยงาน โดยรัฐบาลได้มีการแก้ไขผ่านการตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกฎหมายและ
               ระเบียบฉบับต่าง ๆ เพื่อรองรับการท างานของคณะกรรมการเหล่านั้น แต่จากข้อค้นพบได้แสดงให้เห็นว่า

               กลไกบูรณาการเหล่านั้นยังเป็นการบูรณาการกันเพียงนโยบาย ไม่ได้ลงลึกไปถึงระดับปฏิบัติ ซึ่งงานวิจัยบางชิ้น
               เสนอให้ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการท างานร่วมกันได้ ฯลฯ
               (เช่น วนิดา พรมหล้า, 2564) แต่ในทางปฏิบัติจริงอาจเป็นไปได้ยาก เพราะ หน่วยงานต่างใช้กฎหมายของ
               แต่ละหน่วยงานเป็นแนวปฏิบัติ ดังนั้น ควรส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               (ทสม.) ให้เป็นกลไกส าหรับทุกหน่วยงานในการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ เพื่อปิดช่องว่าง

               ของปัญหาการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน สอดคล้องกับที่ Burgess and Harrison พบว่า มีความจ าเป็นที่
               ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคอาสาสมัครจะต้องมาร่วมกันปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม (Burgess and
               Harrison, 1998) และที่ ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่ ได้เคยเสนอให้มีการส่งเสริมเครือข่ายและ

               บทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีการด าเนินงานอย่างเป็นอิสระ ซึ่งการส่งเสริมตั้งแต่ระดับนโยบายจะสอดคล้องกับ
               เงื่อนไขในการเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชน (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่, 2553) โดยอาจ
               เน้นบทบาทที่เชื่อมโยงระดับพื้นที่กับการตัดสินใจทางนโยบายเพื่อแก้ไขอุปสรรคด้านการบูรณาการระหว่าง
               หน่วยงาน การติดตามเพื่อเฝ้าระวังและจัดท าข้อมูลตามแนวคิดวิทยาศาสตร์พลเมือง (อัฏฐพร ฤทธิชาติ,

               2563) เป็นต้น

                            2) ควรมีการทบทวนระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ การมีส่วนร่วม
               ตัดสินใจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังที่ ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของบทบัญญัติ
               ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ได้ก่อให้เกิดสัมพันธภาพเชิงอ านาจแบบใหม่ที่ลดช่องว่างของ
               อ านาจทางการเมืองระหว่างรัฐกับประชาชนให้แคบลง (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่, 2553) อย่างไรก็ดี

               จากข้อค้นพบปัญหาการมีส่วนร่วมในอีไอเอก็ยังคงอยู่ ทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการ สอดคล้องกับงานวิจัย
               หลายชิ้น เช่น บางโครงการยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ EIA (จิราภรณ์
               ปิ่นวิเศษ, 2561) การตัดสินใจยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน (โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร สระมาลีย์,
               2563) ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการท ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา พรมหล้า,



                                                           205
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223