Page 200 - kpiebook65022
P. 200

ช่วงเวลา                     1975-1985  1986-1996  1997-2006  2007-2021             รวม

                Ecosystems                             -            -            -           7        7
                Sustainability                         -            -           2            2        4
                Agriculture and Aquaculture            -            -            -           1        1
                Natural disaster                       -            -            -           1        1


                       6.3.1 งานวิจัยต่างประเทศ

                       ตามกรอบของ Fahey and Pralle (2016) มีการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
               อย่างชัดเจน ได้แก่ เรื่อง The Anti-politics of Sustainable Development: Environmental Critique
               from Assemblage Thinking in Bolivia (Hope, 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับทดสอบการประยุกต์ใช้เป้าหมาย

               การพัฒนาที่ยั่งยืนในโบลิเวีย และพบว่า SDGs มีความคลุมเครือและห่างจากการเมือง นอกนั้น เป็นเรื่อง
               เกี่ยวกับแนวทางเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งอาจไม่ได้เจาะจงเป้าหมาย SDGs นัก เช่น เรื่อง
               Contradictions of Citizenship and Environmental Politics in the Arabian Littoral (Simpson, 2020)
               ที่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับการเมืองสิ่งแวดล้อม เพื่อไปสู่การ

               พัฒนาที่ยั่งยืน หรืองานวิจัยที่พยายามหาสมดุลระหว่างสามเสาหลักเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เช่น
               เรื่อง Beyond Jobs vs Environment: On the Potential of Universal Basic Income to Reconfigure
               Environmental Politics (Lawhon and McCreary, 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างงานและการปกป้อง
               สิ่งแวดล้อม และเรื่อง Green Stimulus and Pink Batts: The Environmental Politics of Australia’s

               Response to the Financial Crisis (Tienhaara, 2016) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจ
               พร้อมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศออสเตรเลีย

                       ส่วนประเด็นอื่นที่พบอาจยังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่หากเทียบกับงานวิจัย
               ประเด็นความยั่งยืนในประเทศไทยแล้ว ถือว่ามีความสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่า เพราะมีงานวิจัย
               ที่ศึกษาแนวทางไปสู่ความยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับ รจนา ดีค าเกิด และ

               Weber and Weber ที่ว่าแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนหรือภาคี
               การพัฒนา ตั้งแต่การก าหนดนโยบาย การวางแผน การจัดท าโครงการ ตลอดจนการติดตามประเมินผล (รจนา
               ค าดีเกิด, 2560) ทุกเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่างอาศัยวิธีการ

               นั่นคือ เป้าหมายที่ 17 ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนน าพาไปสู่ความยั่งยืน Weber and Weber
               (2020, p.3)

                       งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศที่ยกตัวอย่างมานี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่ามีงานวิจัยที่หา
               แนวทางสร้างสมดุลระหว่างสามเสาหลัก ที่ช่วยหาทางออกต่อข้อจ ากัดเรื่องการบูรณาการเป้าหมายการพัฒนา
               ที่ยั่งยืน ดังที่ Boas et al. และ Weber and Weber ที่ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนยังขาดวิเคราะห์แบบบูรณาการ

               และการจัดท านโยบาย การพัฒนาเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันของแต่ละประเทศและระดับโลก
               นั้น มีความท้าทายในเรื่องของการเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อจะสมดุลการพัฒนาด้าน
               สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม (Boas et al., 2016, pp.450-451 Weber and Weber, 2020, p.1)
               รัฐบาลระดับประเทศ และรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละประเทศ ต่างมีบทบาทในการท าให้นโยบายการพัฒนาที่

               ยั่งยืนเกิดผลในทางปฏิบัติ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของการพัฒนาแต่ละเป้าหมายอาจจะต้อง
               มีระดับของความกลมกลืนกัน (Level of harmony) (Boas et al., 2016)



                                                           187
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205