Page 193 - kpiebook65022
P. 193

นอกเหนือจากประเด็นทรัพยากรและยุติธรรมสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีงานวิจัยในประเด็นมลพิษ ความยั่งยืน
               การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภัยพิบัติ และประเด็นอื่น ๆ

                       ส าหรับข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มในประเด็นทรัพยากรป่าไม้ มีการออกกฎหมาย

               ใหม่ว่าด้วยเรื่องป่าไม้ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ที่มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ
               การอนุญาตให้คนใช้ประโยชน์จากป่าและอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้ หรือการปลดล็อคการตัดไม้หวงห้ามใน
               ที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ในมาตรา 7 หรือการออกกฎหมายป่าชุมชนที่ได้มีการต่อสู้มา
               อย่างยาวนาน ที่น าชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการ ส าหรับประเด็นทรัพยากรน้ า มีความพยายาม

               บูรณาการหน่วยงานภาครัฐด้วยการออกพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ าแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เพื่อแก้ไขปัญหา
               ปัญหาน้ าท่วมหรือภัยแล้งซ้ าซาก ตลอดจนปัญหาทรัพยากรน้ าเชิงพื้นที่ ขณะที่งานวิจัยในช่วงนี้ ในประเด็น
               ทรัพยากรมี 5 ชิ้น โดยมีเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคพลเมือง
               ต่อการทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์, 2563) ทรัพยากรน้ า ได้แก่ การพัฒนา

               แหล่งน้ าตามศักยภาพลุ่มน้ าชีตอนบน จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (ประพิศ
               จันทร์มา, 2563) นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นทรัพยากรแร่ ได้แก่ เรื่องการบริหาร
               ปกครองด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับข้อสังเกตกรณีเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จังหวัดชัยภูมิ

               (จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560) หรือการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นทรัพยากรใน
               ภาพรวม ได้แก่ เรื่องกระบวนการสร้างกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนโดยใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น (นิยม
               ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย, และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ, 2562) ที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างข้อบัญญัติ
               ท้องถิ่นเพื่อเป็นกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน และเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางกฎหมาย และการเมือง
               ต่อการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่น เห็นได้ว่า งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้มีความพยายามยึดโยงกับ

               โครงสร้าง นโยบาย หรือกฎหมายมากขึ้น เช่น งานวิจัยของประพิศ จันทร์มา (2563)  ที่ศึกษาการพัฒนาแหล่ง
               น้ าลุ่มน้ าชีตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี หรือ นิยม ยากรณ์,  กฤษฎา บุญชัย, และทัชชวัฒน์
               เหล่าสุวรรณ (2562) ที่ศึกษากระบวนการสร้างกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนโดยใช้ข้อบัญญัติ

               ท้องถิ่น ซึ่งต่างจากงานวิจัยช่วงก่อนหน้านี้ที่ไม่สามารถแบ่งประเภททรัพยากรได้ชัดเจน หรือไม่ก็เป็นการศึกษา
               ในเชิงการเคลื่อนไหวของประชาชนต่อการจัดการทรัพยากรประเภทนั้น ๆ

                       ประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2560 เป็นต้นมา มีความเกี่ยวพันกับเรื่องสิทธิและการมีส่วนร่วม
               ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 โดยสิทธิและการมีส่วนร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนถูกเขียนไว้
               ในหมวดว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ แสดงว่าประชาชนท าหน้าที่เพียงเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่รัฐจัดแต่ไม่ได้มีส่วนร่วม

               ในฐานะเป็นเจ้าของทรัพยากร รวมทั้งช่องทางการมีส่วนร่วมมีความยุ่งยากมากขึ้นด้วย เพราะการท าหน้าที่
               ของรัฐนี้ไปโยงกับขั้นตอนการเรียกร้องสิทธิ ที่ประชาชนต้องไปร้องต่อหน่วยงาน ผ่านผู้ตรวจการ ผ่าน
               คณะรัฐมนตรี ไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีความซับซ้อนและยุ่งยาก ต่างจาก
               สิทธิในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 ที่รับรองสิทธิและประชาชนสามารถอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมจัดการ

               สิ่งแวดล้อมกับรัฐได้เลย งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ในประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมพบมากที่สุด 8
               ชิ้น ซึ่งยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเชิงการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนอยู่เหมือนกับช่วง พ.ศ.2540-2549 เช่น
               ขบวนการต่อต้านโครงการรัฐในภาคใต้: วิกฤติหรือโอกาสด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน (เบญจวรรณ
               อุปัชฌาย์, 2562) หรือชนพื้นเมืองกับการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของปกาเกอะญอ พื้นที่แม่แจ่ม (ประสิทธิ์

               ลีปรีชา และกนกวรรณ มีพรหม, 2562) อย่างไรก็ดี การศึกษาเรื่องพลวัตของขบวนการเคลื่อนไหวด้าน
               สิ่งแวดล้อมในการเมืองภาคประชาชน (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว, สุชาติ ศรียารัณย, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, และ




                                                           180
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198