Page 189 - kpiebook65022
P. 189

รัฐธรรมนูญ เพื่อชี้ให้เห็นว่ากลไกเหล่านั้นได้ยังผลในเชิงปฏิบัติมากน้อยเพียงใด รวมทั้ง ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อ
               วิเคราะห์กลไกที่ส าคัญอย่างการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ด้วย

                       เป็นที่น่าสนใจว่าช่วงนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ได้

               ระบุเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนชัดเจนนักในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมช่วง พ.ศ.2540-2549 งานวิจัยด้านการ
               พัฒนาที่ยั่งยืน (3 ชิ้น) พบในล าดับรองลงมาจากประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความพร้อมของสมาชิก
               องค์การบริหารส่วนต าบลในการด าเนินงานโครงการเมืองน่าอยู่ด้านสิ่งแวดล้อม จังหวัดราชบุรี (อุบล จันทร์เพชร,
               2543) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการด าเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม: โครงการเมืองน่าอยู่ เทศบาลบ้านหมี่

               จังหวัดลพบุรี (วารุณี พิมพา, 2545) และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการ
               พัฒนาที่ยั่งยืน: จากจารีตปฏิบัติสู่การปฏิรูปการเมืองไทย (สุภาวดี แก้วประดับ, 2546) ซึ่งงานวิจัยสองชิ้นแรก
               เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่จะส่งผลต่อความเป็นเมืองน่าอยู่ ขณะที่งานวิจัยชิ้นที่สาม
               เป็นการศึกษาแนวทางที่น าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจนมากกว่าสองชิ้นแรก แม้ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการ

               พัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs หรือไม่ก็ตาม โดยศึกษาแนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
               และสิ่งแวดล้อมว่ามีผลหรือไม่อย่างไรในทางปฏิบัติ

                       ประเด็นด้านพลังงาน ผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวถึงในวิวัฒนาการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ว่ามีการตื่นตัว
               ด้านพลังงานอย่างชัดเจนว่ามีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้พลังงาน เช่น การท าให้พลังงานเป็นของรัฐ หรือการ
               เคลื่อนไหวโซลาร์เซลล์ในช่วงหลังปี พ.ศ.2545 รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของผู้ได้รับผลกระทบจากประเด็น

               พลังงาน ซึ่งประเด็นพลังงานถือว่ายังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกันอยู่ในช่วงนี้ ได้แก่ เรื่องการเมือง
               เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อารีย์วรรณ
               ทัตตะศิริ, 2543) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจท าให้โครงการโรงไฟฟ้านี้ล่าช้าออกไป และพบว่า

               การขาดการรับฟังจากประชาชนมีผลให้การตัดสินใจด าเนินโครงการต้องล่าช้าออกไป
                       ส าหรับประเด็นด้านทรัพยากรและการเกษตร จากผู้ให้สัมภาษณ์พบการเคลื่อนไหวในช่วง พ.ศ.2540-

               2549 ในเรื่องของทรัพยากรน้ า ทรัพยากรทางทะเล สิทธิที่ดินท ากินในเขตป่าไม้ และทรัพยากรแร่ ยกตัวอย่าง
               เช่น การเคลื่อนไหวในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่ฝั่งทะเลอ่าวไทยและ
               อันดามัน กรณีของกะเหรี่ยงบางกลอยที่ถูกอพยพออกจากที่ดินที่เคยอยู่ อันเนื่องมาจากโครงการทวงคืนผืนป่า

               การเคลื่อนไหวกรณีทรัพยากรแร่โปรแตสในภาคอีสาน การปรับตัวเรื่องการเกษตรอย่างการท าเกษตรอินทรีย์
               หรือเกษตรกรรมธรรมชาติที่จะน าไปสู่ความยั่งยืนที่มีการเคลื่อนไหวเชิงปฏิบัติการมากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2545
               เป็นต้นมา แต่กลับพบว่า งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ที่เฉพาะเจาะจงประเภททรัพยากรหรือการ
               เกษตรกรรมและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ ายังไม่มี พบเพียงงานวิจัยประเภทอื่นซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อค้นพบจาก

               การสัมภาษณ์ (3 เรื่อง) ได้แก่ เรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร
               และปริมณฑล: ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (อารีรัตน์ วชิรเสรีชัย, 2539) ศึกษา
               เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ
               ประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เรื่องนโยบายของพรรคการเมืองด้านทรัพยากร

               ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนพึงพอใจ กรณีศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง (จันทรา เกิดมี,
               2542) ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อนโยบายพรรคการเมืองด้านสิ่งแวดล้อม และศึกษาปัจจัยที่มีต่อความพึง
               พอใจและการมีส่วนร่วม และเรื่องปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นกับ
               บทบาทการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลต าบล จังหวัดสุพรรณบุรี (รัตนา แสงสว่างโชติ,

               2549) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพของนักการเมืองท้องถิ่น



                                                           176
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194