Page 188 - kpiebook65022
P. 188

ใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองและการเมืองสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครในการติดตามในเรื่องของการ
               ปนเปื้อนของรังสี เรื่อง Mediated Intersections of Environmental and Decolonial Politics in the No

               Dakota Access Pipeline Movement (Deem, 2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการประท้วงหรือการต่อต้านทาง
               การเมืองสิ่งแวดล้อมในรูปแบบดิจิทัล ด้วยการร่วมกันเคลื่อนไหวผ่านช่องทางออนไลน์ และติดแฮชแท็ก หรือ
               เรื่อง We need to make our Voices heard”: Claiming Space for Young People’s everyday
               Environmental Politics in Northern Finland (Kettunen, 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางด้าน

               การเมืองสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ในประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น

               6.2 วิเคราะห์องค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อมที่ส ารวจได้กับการเคลื่อนไหวจริง


                       6.2.1 เชิงประเด็น

                       งานวิจัยไทยกับวิวัฒนาการการเมืองสิ่งแวดล้อมไทย

                       การวิเคราะห์ส่วนนี้เพื่อตอบค าถามว่า งานวิจัยไทยกับข้อค้นพบวิวัฒนาการการเมืองสิ่งแวดล้อมไทยมี
               ความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร จากการสืบค้นงานวิจัยไทยจากฐานข้อมูลทั้งสามฐานแม้ไม่จ ากัดปีพิมพ์แต่
               กลับพบย้อนหลังมากที่สุดคือปี พ.ศ.2539 ขณะที่วิวัฒนาการการเมืองสิ่งแวดล้อมจากข้อค้นพบที่ได้จากการ
               สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มอาจย้อนหลังได้ไกลกว่านั้น การวิเคราะห์ในส่วนนี้ขอวิเคราะห์ตั้งต้นจากข้อค้นพบ

               ในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม แล้ววิเคราะห์ความสอดคล้องกับงานวิจัยที่สืบค้นได้ แบ่งออกเป็นช่วง
               รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญ 2550 และ รัฐธรรมนูญ 2560

                       ช่วงรัฐธรรมนูญ 2540 – 2549 จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มมีประเด็นการเคลื่อนไหวด้าน
               ทรัพยากร พลังงาน การเกษตร และยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ขณะที่งานวิจัยไทยในช่วงนี้ที่พบ 11 ชิ้น ส่วนใหญ่ (4 ชิ้น)
               เป็นประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เช่น การเมืองของ

               การเสนอภาพตัวแทนในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของชาวม้ง (ดริญญา โตตระกูล, 2546) ขบวนการ
               เคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน ศึกษากรณีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี (วิเชียร บุราณรักษ์,
               2548) หรือการเมืองของขบวนการชาวบ้านด้านสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย กรณีสมัชชาคนจน (ประภาส ปิ่นตบแต่ง,

               2540) เป็นต้น ซึ่งเป็นการศึกษาว่าพื้นที่ที่ศึกษานั้น มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนอย่างไร มีปัจจัยใดบ้าง
               เข้ามากระทบ หรือท าให้เกิดการพัฒนาขบวนการภาคประชาชน ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับผู้ให้สัมภาษณ์
               หลายท่านว่า ช่วงตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ประชาชนมีความตื่นตัวและองค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม
               เกิดขึ้นจ านวนมากในช่วงนี้ จึงเป็นเหตุผลว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของประชาชนหลายชิ้น

                       แม้การวิจัยในประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมจะมีความสอดคล้องระหว่างข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์

               และสนทนากลุ่มในภาพกว้าง แต่หากพิจารณารายละเอียดผลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม พบว่า
               จุดส าคัญของวิวัฒนาการช่วงนี้คือสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 ที่ได้ให้
               เจตนารมณ์สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มองค์กร และกลไกที่เปิด
               ช่องทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น ท าให้เกิดความตื่นตัวของภาคพลเมือง สิทธิในการเรียกร้อง สิทธิในการเข้าถึง

               ข้อมูลข่าวสาร และการตื่นตัวของภาคประชาสังคม นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประเมินผลกระทบ
               สิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นชัดเจนแล้วในช่วงนี้ ดังผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่างการสร้างเขื่อนซึ่งยังมีความขัดแย้งในการ
               จัดท าประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีเขื่อนแม่วงก์ แต่งานวิจัยในช่วง พ.ศ.2540-2549 ในประเด็นยุติธรรม
               สิ่งแวดล้อมกลับยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ยึดโยงกับสิทธิและการมีส่วนร่วมตาม



                                                           175
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193