Page 190 - kpiebook65022
P. 190

ช่วงรัฐธรรมนูญ 2550 – 2559 พบประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร พลังงาน ความยั่งยืน และ
               มลพิษ ส่วนงานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมที่สืบค้นได้ในช่วงนี้มี 13 ชิ้น ส าหรับโดยประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม

               มีจุดเน้นส าคัญที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้ให้สิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
               สิ่งแวดล้อมของประชาชนเกิดขึ้นได้ทันที เนื่องจากถ้อยค า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ถูกตัดออกไป เป็นผล
               ให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้ทันทีโดยไม่ต้องรอกฎหมายระดับพระราชบัญญัติบังคับใช้ ดังกรณีค าวินิจฉัย
               ของศาลรัฐธรรมนูญในค าวินิจฉัยที่ 3/2552 ที่ระบุว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญเมื่อบัญญัติแล้วมีผลบังคับ ดังกรณี

               ฟ้องร้องโครงการในมาบตาพุด ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 วรรค 2  ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิใน
               ชุมชนในปกป้องสิทธิในทรัพยากร จนสุดท้ายมีค าสั่งศาลปกครองที่ระงับ 76 โครงการในมาบตาพุด ซึ่งถือว่า
               เป็นการยกระดับความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม ขณะที่งานวิจัยด้านยุติธรรม
               สิ่งแวดล้อมมีเพียง 1 ชิ้น ได้แก่ ผู้หญิงในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผู้หญิง

               ปกาเกอะญอคนหนึ่งในเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข, 2550) ซึ่งศึกษา
               เกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านสิ่งแวดล้อมของสตรี ซึ่งคนมักมองว่าไม่มีบทบาททางการเมือง
               หรือพื้นที่สาธารณะ และพบว่าการมีเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรท าให้สตรีในชุมชนมีความตื่นตัวในปัญหาทั้งของ
               ตนเองและปัญหาสังคมมากขึ้น ท าให้มีความรู้และกล้าแสดงออกมากขึ้นโดยการไปเรียกร้องยังสถานที่ราชการ

               ซึ่งการศึกษานี้อาจยังไม่ได้เป็นการศึกษาที่เชื่อมโยงกับสิทธิการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนนัก

                       ประเด็นการเคลื่อนไหวด้านทรัพยากรด้านทรัพยากรป่าไม้ แร่ และน้ า มีความเชื่อมโยงกับการเมือง
               อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากรัฐประหาร พ.ศ.2557 รัฐบาล คสช. มีโครงการทวงคืนผืนป่าท า
               ให้ต้องอพยพชาวบ้าน แม้จุดเริ่มต้นมาจากแผนแม่บทป่าไม้ในปี พ.ศ.2529 แต่ในช่วงนี้เมื่อมีการรัฐประหาร
               และรัฐบาล คสช. เข้าก็ท าให้นโยบายนี้มีความเข้มข้นมากขึ้น หรือการขุดเจาะปิโตรเลียมในภาคอีสานช่วงของ

               รัฐบาล คสช. ปี พ.ศ.2557 จนเกิดการประท้วง ประเด็นแร่โปรแตสมีการต่อสู้ในหลายพื้นที่ เช่น อุดรธานี
               ชัยภูมิ และสกลนคร ซึ่งต่อสู้กับทุนจีน ส่วนทรัพยากรน้ า ยังคงมีการเคลื่อนไหวเรื่องการสร้างและต่อต้านการ
               สร้างเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ดังเห็นได้ชัดจากแผนแม่บทในการจัดการน้ า 3.5 แสนล้าน ที่มีการจัดเวทีทั่วประเทศ

               เป็นการจัดการน้ าทั้งระบบทั้งการสร้างเขื่อน คลอง แหล่งน้ าอื่น ๆ และการผันน้ า กรณีนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่
               คุณยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถูกโจมตีอย่างหนัก ขณะที่งานวิจัยในประเด็นทรัพยากรช่วงนี้มีความ
               เจาะจงตามประเภททรัพยากรมากขึ้น โดยพบงานวิจัยที่อาจแบ่งตามประเภททรัพยากรได้จ านวน 6 ชิ้น มี
               งานวิจัยสามชิ้นเป็นการศึกษาทรัพยากรที่มีความสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ คือ ทรัพยากรแร่และทรัพยากรน้ า

               ได้แก่ เรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมคัดค้านเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย
               ทองอยู่, 2553) ศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขที่น ามาสู่การก่อเกิดและการเติบโตของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
               และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี และเรื่องพลวัตการเคลื่อนไหวและการ
               ต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์,

               2557) ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตในการเคลื่อนไหวของชาวบ้านปากมูล และวิเคราะห์แนวทางในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟู
               วิถีชีวิตชุมชน และเรื่องนักสิ่งแวดล้อมที่รู้คิด: สิ่งประดิษฐ์สร้างทางการปกครองเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่
               ยั่งยืน (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง, 2558) ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างนักสิ่งแวดล้อมจาก
               แนวคิดชีวะการเมือง เพื่อสร้างความเป็นนักสิ่งแวดล้อม ศึกษาจากคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านกลาง ต าบล

               บ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง

                       ส่วนงานวิจัยอีกสามชิ้นมีเพิ่มเติมในทรัพยากรนอกเหนือจากที่พบจากการสัมภาษณ์ คือ การศึกษา
               พื้นที่ชุ่มน้ าและทรัพยากรทางทะเล ได้แก่ เรื่องการเมืองของพื้นที่ธรรมชาติในท้องถิ่นภายใต้วาระนโยบาย




                                                           177
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195