Page 185 - kpiebook65022
P. 185
ส าหรับอุปสรรคของการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน สรุปได้ว่ามีอุปสรรค
ในภาพรวม ภาครัฐ ประชาสังคม และวิชาการ ในเชิงภาพรวม มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลต่อการ
จัดการทรัพยากรได้ยากมากขึ้น ในประเทศไทยเองยังขาดมุมมองในการพัฒนาที่เชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในเชิงนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่ในระดับประชาชนเองก็ยังมี
มุมมองที่ไม่เชื่อมโยงมิติเหล่านี้เช่นกัน ในภาพรวมยังมีปัญหาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้วย เพราะแต่ละภาค
ส่วนต่างมีข้อมูลคนละชุด เมื่อใช้ข้อมูลร่วมกันต่างอ้างข้อมูลของตนว่าถูกต้อง และสุดท้ายในภาพรวมประเทศไทย
ขาดพื้นที่ร่วมที่จะให้ทุกภาคส่วนมาปรึกษาหารือกัน แต่ละภาคส่วนต่างด าเนินการและมีข้อเสนอของกลุ่มตน
จึงไม่เกิดการรับฟังความต้องการของภาคส่วนที่ต่างกันว่ามีอะไรบ้าง และต่างยอมรับซึ่งกันและกันได้เพียงใด
ส าหรับอุปสรรคในภาครัฐเป็นอุปสรรคที่พบมากที่สุดในพื้นที่ของการเมืองสิ่งแวดล้อมก็ว่าได้ เป็น
อุปสรรคในเรื่องของนโยบาย กฎหมาย และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน เริ่มจากนโยบายประเทศไทยมี
การเปลี่ยนแปลงบ่อย ในส่วนของกฎหมายมีปัญหาซ้ าซ้อนและท าให้การท างานของหลายหน่วยงานมีความ
ขัดแย้งกัน เช่น กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของการให้สิทธิ์ในการมีที่ดินท ากินของกรมป่าไม้ มีการให้สิทธิ์พื้นที่ที่
แตกต่างจากของกระทรวงเกษตรฯ หรือปัญหาเรื่องของความจริงจังในการบังคับใช้นโยบายและกฎหมาย
อย่างเช่น กรณีที่มีการเผาไร่อ้อยที่ท าให้เกิดฝุ่นควัน ปัญหานี้ยังคงวนกลับมาซ้ า ๆ เพราะภาครัฐยังไม่มีความ
จริงจังในการบังคับใช้กฎหมายมากพอ ส่วนปัญหาในเรื่องของการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างเช่น
หน่วยงานหนึ่งไม่มีบทบาทหน้าที่ในการที่จะไปลงโทษหรือว่าบังคับใช้ ขณะที่อีกหน่วยงานมีบทบาทแต่กลับไม่
ด าเนินการ เป็นต้น
ส าหรับอุปสรรคในด้านของภาคประชาสังคม พบว่า ยังขาดความเข้มแข็ง ทั้งในเชิงขององค์ความรู้
และการรวมตัว เนื่องจากว่าส่วนใหญ่การรวมตัวของภาคประชาชนจะเกิดเมื่อได้รับผลกระทบ ไม่ได้มีการ
รวมตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะปรึกษาหารือหรือเตรียมพร้อมในการจัดการสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังขาดแหล่งทุนใน
การสนับสนุนที่จะท ากิจกรรมร่วมกันด้วย ในเชิงเป้าหมายขององค์กรของภาคประชาสังคมเองก็มีลักษณะ
กระจัดกระจาย เพราะประชาสังคมเป็นที่รวมของกลุ่มคนหลายกลุ่มจึงมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ท าให้
ทิศทางการเคลื่อนไหวไม่ชัดเจน นอกจากนี้ก็ภาคประชาสังคมยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมกับ
การเมือง เพราะ ประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมบางส่วนยังยอมรับระบอบเผด็จการ ซึ่งเป็นระบอบที่ค้านกับ
การเมืองสิ่งแวดล้อม ส าหรับภาควิชาการมีอุปสรรค คือ นักวิชาการบางส่วนท างานวิจัยให้กับเอกชนในรูปแบบ
ที่มีค าตอบอยู่แล้ว อย่างเช่น การท าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อให้โครงการผ่านไปได้
ส าหรับกรณีที่เป็นประเด็นมาอย่างยาวนานและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก เป็น
ประเด็นมลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติ และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ประเด็นมลพิษเป็นเรื่องของฝุ่นควัน
อย่าง PM 2.5 ซึ่งจะเป็นปัญหาในเขตเมือง หรือในชนบทบางแห่งที่มีการเผาไร่อ้อย เป็นวิกฤตเพราะจัดการได้ยาก
เกี่ยวข้องกับแหล่งก าเนิดหลายแหล่ง และหน่วยงานที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องก็มีหลายหน่วยงาน อีกทั้ง
องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ขยะก็จะเป็นวิกฤตด้วยเช่นกัน เพราะเป็น
ปัญหาที่เป็นภัยเงียบที่ทุกคนขาดความตระหนัก
ส าหรับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ สรุปว่ามีวิกฤตในเรื่องของทรัพยากรป่าไม้และน้ า พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่
ก าลังถูกบุกรุก ที่รัฐเองยังไม่มีแนวทางในการบริหารจัดการว่าจะเป็นรูปแบบไหน ส่วนทรัพยากรน้ าเป็นวิกฤต
ตรงที่จะบริหารจัดการได้ยากขึ้น แม้ว่าภาครัฐจะมีการสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ าทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่การ
บริหารจัดการเพื่อผู้ใช้น้ าแต่ละภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรมก็จะมีความท้าทาย
มากขึ้น
172