Page 134 - kpiebook65022
P. 134

ในส่วนของการมีส่วนร่วมโดยทั่วไปในระดับระหว่างประเทศ ได้แก่ งานวิจัยแนวคิดภูมิภาค
               นิยมกับนโยบายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มประชาคมอาเซียน (ภัณณิน

               สุมนะเศรษฐกุล, กนกรัตน์ ยศไกร, และเมธินี ภูวทิศ, 2561) ที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวนโยบายและการด าเนินงาน
               ของแนวทางความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบประชาคมภูมิภาคอาเซียน

                              จากประเด็นการมีส่วนร่วมทั่วไปทั้งระดับพื้นที่และระหว่างประเทศ ท าให้พิจารณาได้ว่าใน
               เชิงความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มี
               ประสิทธิภาพ เพราะยังมีความแตกกระจายทางนโยบายและแนวทางอยู่มาก อีกทั้ง อาเซียนยึดหลักไม่

               แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน ยิ่งท าให้ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้ยากในภูมิภาคนี้ ดังที่
               ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล  กนกรัตน์ ยศไกร  และเมธินี ภูวทิศ พบว่า ในอาเซียนยังคงมีความเหลื่อมล้ าเกิดขึ้น
               ในการวางนโยบายและด าเนินนโยบายไปปฏิบัติ ความเป็นภูมิภาคร่วมกันกับประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่
               ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ยังคงท าให้แนวคิดเรื่องภูมิภาคนิยมไม่สามารถเกิดขึ้นแบบเต็มรูปแบบได้ อาจมีพื้นฐาน

               เรื่องความเหมือนและความต่างทางด้านภูมิสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมืองที่ผ่านมา ท าให้
               แนวคิดการส่งเสริมความเป็นภูมิภาคนิยม โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านการป้องกัน
               สิ่งแวดล้อมไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงในขณะนี้ เพราะนโยบายที่แต่ละประเทศรัฐสมาชิกน ามาบังคับใช้ยังคงมีความ

               แตกต่างกันอยู่ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมความเป็นภูมิภาคในรูปแบบของประชาคมอาเซียนมีความแตกต่าง
               จากประชาคมในภูมิภาคอื่น คือ การไม่แทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองซึ่งกันและกัน จะช่วยส่งผลให้ความ
               ตึงเครียดในภูมิภาคมีน้อยลง แต่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าต่อความร่วมมือทางด้านประเด็นที่มีความ
               ละเอียดอ่อนอย่างเรื่องความมั่นคงได้ ข้อค้นพบอีกประการหนึ่งคือ ภัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่พบทั้งในพื้นที่
               ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน แต่ส่วนใหญ่ให้ความส าคัญกับผลประโยชน์แห่งชาติมากกว่า เนื่องด้วย

               พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันของพลเมืองในประชาคมอาเซียน รวมทั้งความคิดของการพัฒนาแบบทุนนิยมที่
               เน้นและให้ความส าคัญกับนโยบายการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมทั้ง การรับฟังเสียงจากประชาชน
               ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมมีรูปแบบเปลี่ยนไป คนในพื้นที่ยังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการ

               ป้องกันและรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น กลไกภาครัฐไม่สามารถติดตามเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่มีความซับซ้อน
               (ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล, กนกรัตน์ ยศไกร, และเมธินี ภูวทิศ, 2561)

                              ส าหรับการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ มีตัวอย่างงานวิจัยที่ให้ข้อค้นพบว่า การมีส่วนร่วมของ
               ประชาชนยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก ขณะเดียวกันบางพื้นที่ก็มีรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ดี เช่น งานวิจัยของ
               อารีรัตน์ วชิรเสรีชัย พบว่า ประชากรที่ศึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการ

               เมืองมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ า ส าหรับกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
               เช่นกัน แต่ระดับการมีส่วนร่วมยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (อารีรัตน์ วชิรเสรีชัย, 2539) อย่างไรก็ดีมีรูปแบบ
               การมีส่วนร่วมที่ดีก็มีอยู่เช่นกัน ดังที่ วัฒนา อร่ามเธียรธง และโสภิณ โพยมรัตนสิน พบว่า ลักษณะความ
               ร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐ องค์การพัฒนาเอกชน และองค์การภาคประชาชนอย่างเป็นทางการ ภายใต้

               โครงการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ มีการพึ่งพาอาศัย
               ซึ่งกันและกัน และมีการแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้ทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง
               สงบสุข โดยพื้นที่เป้าหมาย 8 แห่ง ประกอบด้วย  1) โรงเรียน  2) อาคารส านักงาน  3) สวนสาธารณะ
               4) ตลาดนัดสวนจตุจักร  5) ตลาดสดองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (ตลาดสด อ.ต.ก.)  6) ห้างสรรพสินค้า

               7) ร้านอาหาร และ 8) โรงแรม (วัฒนา อร่ามเธียรธง และโสภิณ โพยมรัตนสิน, 2563)






                                                           121
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139