Page 136 - kpiebook65022
P. 136
ขณะที่ ระดับการศึกษา ฐานะ ระยะเวลาด ารงต าแหน่ง ไม่มีผลต่อบทบาทที่ต่างกัน (รัตนา แสงสว่างโชติ,
2549)
ล าดับที่ห้า ประเด็นความยั่งยืน (Sustainability)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านความยั่งยืน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็น
ความยั่งยืน จ านวน 5 เรื่อง สามารถจ าแนกได้ชัดตามกลุ่มผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนสังคม
และภาคประชาชน ส่วน ภาครัฐ ได้แก่ งานวิจัยความพร้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลในการ
ด าเนินงานโครงการเมืองน่าอยู่ด้านสิ่งแวดล้อม จังหวัดราชบุรี (อุบล จันทร์เพชร, 2543) ศึกษาเกี่ยวกับความ
พร้อม ความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมปฏิบัติงาน ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลในโครงการด้าน
สิ่งแวดล้อม กับงานวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการด าเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม: โครงการเมืองน่าอยู่
เทศบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (วารุณี พิมพา, 2545) ศึกษาเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีต่อการมี
ส่วนร่วม และปัญหาในการด าเนินโครงการดังกล่าว ภาคเอกชน ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบใน
ความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม (นิศามาศ เลาหรัตนาหิรัญ, กฤช จรินโท, และบรรพต วิรุณราช,
2559) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม เพื่อ
เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติส าหรับธุรกิจโรงแรม
ส่วน ภาคประชาสังคม ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม เพื่อการ
พัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การพัฒนาเอกชนไทยและอินโดนีเซีย (รจนา ค าดีเกิด, 2561) ศึกษาเกี่ยวกับการ
เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การพัฒนาเอกชนไทยและอินโดนีเซีย และหาแนวทาง
พัฒนาการด าเนินงานและการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือประชาชนทั่วไป ได้แก่
งานวิจัยสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากจารีตปฏิบัติสู่
การปฏิรูปการเมืองไทย (สุภาวดี แก้วประดับ, 2546) ศึกษาเกี่ยวกับเหตุผลที่แนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากร
ทั้ง 5 ชิ้นงานแบ่งข้อค้นพบได้เป็นเรื่องของรูปแบบการเคลื่อนไหวประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
อุปสรรค และเงื่อนไขที่ส่งเสริมต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมที่พึงประสงค์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
รูปแบบการเคลื่อนไหวในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า มีการเคลื่อนไหวของภาค
ประชาชนทั้งระดับนโยบายและพื้นที่ ด้วยยุทธวิธีที่หลากหลาย เฉกเช่นข้อค้นพบรูปแบบการเคลื่อนไหวใน
ประเด็นทรัพยากรและมลพิษ ดังงานวิจัยของ สุภาวดี แก้วประดับ สรุปว่า สิทธิชุมชนแบ่งได้เป็นสองระดับ
ได้แก่ ระดับเข้มข้นกับระดับกว้าง ส าหรับระดับเข้มข้นคือ สิทธิที่เคลื่อนไหวยึดติดกับพื้นที่ เช่น การเคลื่อนไหว
เรื่องป่าของบางชุมชน ส่วนระดับกว้าง เป็นสิทธิที่ชุมชนมีการเคลื่อนไหวเชิงต่อรองเชิงนโยบายหรือโครงการ
ขนาดใหญ่กับผู้มีอ านาจ (สุภาวดี แก้วประดับ, 2546) ขณะที่งานวิจัย ของ รจนา ดีค าเกิดสะท้อนรูปแบบการ
เคลื่อนไหวของประชาชนผ่านกลไกองค์กรประชาสังคมที่ชัดเจนขึ้น โดยสรุปว่า องค์การพัฒนาเอกชนใช้
ยุทธวิธีช่องทางระบบการเมืองปกติและยุทธวิธีการขัดขวาง โดยพบ 8 ยุทธวิธีที่สามารถน าไปสู่การจัดการที่
ยั่งยืน ได้แก่ 1) การจัดการป่าร่วมกันของชุมชน 2) การสร้างองค์ความรู้ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม 3) การฟื้นฟู
ภูมิปัญญาดั้งเดิมในท้องถิ่นมาใช้จัดการทรัพยากรธรรมชาติ 4) การสร้างกลุ่มเยาวชนเพื่อเคลื่อนไหวด้าน
สิ่งแวดล้อม 5) การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 6) การสร้างเครือข่ายในการเคลื่อนไหวด้าน
123