Page 139 - kpiebook65022
P. 139
การรณรงค์ให้น าขยะมารีไซเคิล อีกทั้ง ประสบปัญหาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
เช่น ปัญหาการท างานซ้ าซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน ปัญหาการท างานไม่ประสานกัน ต่างคนต่างท า ปัญหาด้าน
งบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความสามารถในงานที่แท้จริง ปัญหาการรณรงค์และ
ประชาสัมพันธ์งานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครที่ตรงประเด็น แต่เน้นการประชาสัมพันธ์ไปในเรื่อง
การท างานของทีมบริหารกรุงเทพมหานคร ตลอดจนปัญหาในการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทางเลือก
ส าหรับประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disasters) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยอาศัยการขับเคลื่อนจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชนในพื้นที่ และ
ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการภัยพิบัติดินโคลนถล่มของหน่วยงานรัฐ
ในพื้นที่ภาคใต้ (กฤษฎา พรรณราย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, 2561) ท าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มี
อิทธิพลต่อการจัดการภัยพิบัติดินโคลนถล่มของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ภาคใต้ และประมวลแนวคิดในการ
สรรสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการภัยพิบัติดินโคลนถล่มของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ภาคใต้ จากรายงาน
วิจัยนี้ ท าให้ข้อค้นพบที่น าไปสู่การจัดท านโยบายและบริหารจัดการภัยพิบัติที่ดี โดยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมที่
มีอิทธิพลต่อการจัดการภัยพิบัติดินโคลนถล่มของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย สภาพแวดล้อม
ภายในด้านที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่ โครงสร้างและนโยบาย และด้านที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ ผลผลิตและการให้บริการ
บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการกับสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านที่เป็นโอกาส ได้แก่
ประชากร ค่านิยมของสังคม และกฎหมายและการเมือง และด้านที่เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ได้แก่
เศรษฐกิจเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
5.1.3.2 ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากการค้นคว้าเอกสารด้าน
การเมืองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ส าหรับระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย (Research Methodology) ที่ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
ประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมจากฐานข้อมูล ThaiLIS ฐานข้อมูล ThaiJO และฐานข้อมูล Google Scholar
จ านวนทั้งสิ้น 47 เรื่อง พบว่า มีการใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นส่วนใหญ่ บางชิ้นใช้วิธี
การศึกษาแบบผสมผสาน และส่วนน้อยที่สุดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังตาราง 5.5 ดังนี้
ตาราง 5.5 ระเบียบวิธิวิจัยที่ใช้ในการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย จ านวน (เรื่อง)
การวิจัยเชิงคุณภาพ 37
การวิจัยเชิงปริมาณ 3
การวิจัยแบบผสม 7
รวม 47
ส าหรับวิธีการวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยผ่านวิธีวิจัยทั้งสามแบบ มีรายละเอียด ดังนี้
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
- เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร (Document Research)
- เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง (In-depth Interview)
- เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเรื่องเล่า (Narrative Approach)
126