Page 135 - kpiebook65022
P. 135

นโยบายพรรคและปัจจัยส่วนบุคคลต่อการเมือง ในกลุ่มนี้มีงานวิจัยสามชิ้น ได้แก่ งานวิจัย
               พรรคการเมืองไทยกับนโยบายสิ่งแวดล้อม (ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์, 2558) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองใน

               ภาพกว้าง การก่อตัว และก าหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในพรรคการเมืองไทย วิเคราะห์บทบาทพรรค
               การเมือง และผลการน านโยบายไปปฏิบัติของพรรคการเมืองไทย ส่วนอีกสองชิ้นเป็นการศึกษาปัจจัยส่วน
               บุคคลที่มีต่อการเมืองในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานวิจัยนโยบายของพรรคการเมืองด้านทรัพยากร
               ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนพึงพอใจ กรณีศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง (จันทรา เกิดมี,

               2542) ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อนโยบายพรรคการเมืองด้านสิ่งแวดล้อม และศึกษาปัจจัยที่มีต่อความ
               พึงพอใจและการมีส่วนร่วม และงานวิจัยปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคมของนักการเมืองท้องถิ่น
               กับบทบาทการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลต าบล จังหวัดสุพรรณบุรี (รัตนา แสงสว่างโชติ,
               2549) ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพของนักการเมืองท้องถิ่น เปรียบเทียบบทบาท

               ดังกล่าวกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักการเมืองท้องถิ่น

                              งานวิจัยพรรคการเมืองไทยกับนโยบายสิ่งแวดล้อม ของ ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์
               ท าให้เห็นได้ว่า พรรคการเมืองไทยยังคงมีบทบาทไม่มากนักในการเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อม จากภาค
               ประชาชนเข้าสู่การเมืองในรัฐสภา ทั้งที่พรรคการเมืองเป็นหนึ่งในกลไกที่จะเป็นตัวแทนเจตจ านงของ

               ประชาชนได้ ทั้งนี้ การที่พรรคการเมืองไม่ได้มีบทบาทในประเด็นสิ่งแวดล้อมมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะภาค
               ประชาชนสะท้อนความต้องการในการพัฒนาประเด็นเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า โดยผู้วิจัยพบว่า ปัญหา
               สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่ก าหนดและก่อตัวขึ้น เกิดจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน โดยพรรคการเมืองเข้า
               มามีบทบาทไม่มากนักในการก่อตัวและก าหนดนโยบาย ทั้งนี้ ประเด็นที่จะได้รับความส าคัญจากผู้ก าหนด
               นโยบายนั้น ต้องเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคนจ านวนมาก เป็นที่สนใจของสาธารณะ ส าหรับ

               ในส่วนของผู้ผลักดันนโยบายจะเป็นชนชั้นน าในสังคม ส าหรับนโยบายที่พรรคการเมืองได้หาเสียง ส่วนใหญ่
               เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ าและเศรษฐกิจมากกว่าสิ่งแวดล้อม เมื่อด าเนินนโยบายสิ่งแวดล้อม
               พรรคการเมืองที่เข้าไปบริหารจะใช้กลไกราชการ โดยดึงภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

               แต่ยังคงมีข้อจ ากัดด้านผลสัมฤทธิ์ในการด าเนินนโยบายสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก มีข้อจ ากัดด้านการรักษา
               ประโยชน์ให้กลุ่มการเมืองและความต่อเนื่องในการด าเนินนโยบายเพราะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง (ณัฐณภรณ์
               เอกนราจินดาวัฒน์, 2558) สอดคล้องกับข้อค้นพบของ รัตนา แสงสว่างโชติ ที่ว่าปัญหาหลักในการด าเนิน
               บทบาทด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณที่ต้อง

               กระจายไปยังแต่ละชุมชน ขาดผู้เสนอแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม นักการเมืองท้องถิ่นยังมองสิ่งแวดล้อมเป็น
               ปัญหาไกลตัว ตลอดจนประชาชนยังขาดความรู้และตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพ (รัตนา แสงสว่างโชติ,
               2549)

                              ส่วนงานวิจัยอีกสองชิ้นของ จันทรา เกิดมี และรัตนา แสงสว่างโชติ มีข้อค้นพบที่แสดงให้เห็น
               ว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านใดบ้างที่มีผลต่อการเมืองสิ่งแวดล้อม โดย จันทรา เกิดมี พบว่า ปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อ

               ความพึงพอใจด้านนโยบายพรรคการเมือง ได้แก่ เพศ การศึกษา พื้นที่อาศัย วิชาที่สอน และความรู้ ส าหรับ
               ปัจจัยที่ส าคัญรองลงมา ได้แก่ วิชาที่จบ และการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม (จันทรา เกิดมี, 2542) ส่วนรัตนา
               แสงสว่างโชติ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด
               บทบาทที่แตกต่างกันมากที่สุด คือ อายุ เพราะมีผลต่อบทบาทด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพทุกด้าน โดยคนที่อายุ

               มากจะมีบทบาทในแต่ละด้านมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ส าหรับปัจจัยด้านอาชีพมีผลต่อบทบาทเพียงด้านเดียว






                                                           122
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140