Page 130 - kpiebook65022
P. 130
ควบคุมวิธีคิดและการตัดสินใจในนโยบาย (ธนานุช สงวนศักดิ์, 2542) เช่นเดียวกับ จักรกฤษ กมุทมาศ และ
ศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ พบว่า ภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดย รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ได้มีการผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อ าเภอบ าเหน็จณรงค์ อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความ
ร่วมมือกันระหว่างรัฐและกลุ่มทุนบรรษัทเอกชนอย่างเข้มข้น ในทางตรงข้าม ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียส าคัญจากโครงการดังกล่าว กลับอยู่ในสภาวะที่ขาดการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลที่เหมาะสม ตลอดจน
ขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบาย (จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560)
ข้อเสนอแนะส าหรับการร่วมจัดการทรัพยากร พบว่า งานวิจัยให้ความส าคัญกับการใช้
นโยบายและมาตรการที่หลากหลายในการจัดการทรัพยากร ดังที่ พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์ กล่าวว่า
การตัดสินใจแก้ปัญหาในเชิงนโยบาย รัฐจะใช้วิธีการทางการเมือง เรื่องของการต่อรองอย่างเดียวคงไม่สามารถ
แก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการให้รัฐบาลเปิดประตูน้ าเขื่อนปากมูลอย่างถาวรได้ การฟื้นฟูวิถี
ชีวิตชุมชนจึงไม่อาจเป็นจริงตามที่ชาวบ้านคาดหวังไว้ได้ (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์, 2557)
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยอาจสรุปข้อเสนอแนะได้ว่า ควรมีการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของประชาชนในการ
จัดการทรัพยากร ตั้งแต่ระดับนโยบายและกฎหมายที่เปิดช่องทางการมีส่วนร่วม ส่งเสริมบทบาทเครือข่ายและ
บทบาททุกภาคส่วนตามความถนัด ดังนี้
การส่งเสริมตั้งแต่ระดับนโยบายและการมีส่วนร่วมมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขในการ
เคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชนที่พบโดย ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่ ที่กล่าวว่ามีเงื่อนไข
ภายนอกที่ส าคัญ โดยการเคลื่อนไหวของขบวนการฯ สัมพันธ์กับโอกาสทางการเมือง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ที่ได้ก่อให้เกิดสัมพันธภาพเชิงอ านาจแบบใหม่ที่ลด
ช่องว่างของอ านาจทางการเมืองระหว่างรัฐกับประชาชนให้แคบลง อันเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถ
เคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างชอบธรรม และโครงสร้างโอกาสทางสังคมที่มีลักษณะที่เปิด ซึ่งได้แก่ การ
เติบโตขององค์กรพัฒนาเอกชนมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ที่มีส่วนท าให้องค์กรพัฒนาเอกชน
หลากหลายสาขาหันมาจับงานพัฒนา และท างานกับชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐมาก
ยิ่งขึ้น และการเติบโตของภาคประชาสังคมที่มีพัฒนาการที่เข้มข้นมาอย่างต่อเนื่องนับจากช่วงหลังการเกิดขึ้น
ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่ท าให้นักวิชาการ อาจารย์ ประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ทางสังคม ตลอดจน
ภาคเอกชน ตื่นตัวและกล้าที่จะออกมารวมกลุ่มกันตรวจสอบ ติดตามและวิพากษ์การด าเนินนโยบายและ
โครงการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบในทางสาธารณะ ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้ขบวนการ
ชาวบ้านสามารถเคลื่อนไหวได้และเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่สามดังที่กล่าวไปข้างต้นได้เข้ามามีส่วนหนุนเสริมการ
เคลื่อนไหวของขบวนการชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ขบวนการฯ เอง ต้องเอาชนะฝ่ายต่อต้านขบวนการ
เคลื่อนไหวที่โต้กลับต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการฯ ให้ได้ด้วย ซึ่งผลที่ตามมาคือ การก่อเกิดและเติบโตของ
ขบวนการฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีได้มีวิธีในการสร้างอ านาจในการเคลื่อนไหว
ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลส าเร็จตามจุดมุ่งหมายด้วยยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
ยุทธวิธีตามช่องทางระบบการเมืองปกติ หรือวิธีการท้าทายแบบอื่น รวมทั้ง ใช้วัฒนธรรมชุมชนซึ่งถือเป็นพลัง
อ านาจอย่างหนึ่ง (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่, 2553)
ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่ ยังได้ให้ข้อค้นพบที่แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของ
ภาคประชาชน จ าเป็นต้องได้รับการส่งเสริมเครือข่ายและบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีการด าเนินงานอย่างเป็น
อิสระด้วย โดยกล่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดอุดรธานี เติบโตขึ้นภายใต้เงื่อนไขสองประการ คือ
เงื่อนไขภายในองค์กรการเคลื่อนไหว และเงื่อนไขภายนอกองค์กรการเคลื่อนไหว ส าหรับในด้านเงื่อนไขภายใน
117