Page 128 - kpiebook65022
P. 128
และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐาน
ทรัพยากรส าคัญต่อการด ารงชีวิตและวิถีชีวิตของชาวเชียงใหม่ จึงเกิดกลุ่มพลเมืองเชียงใหม่ เขียว สวย หอม
หรือเครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม มีการรวมตัวของประชาชน องค์กรภาคประชาชน องค์กรท้องถิ่น และ
หน่วยงานภาครัฐที่ท างานสิ่งแวดล้อมประเด็นต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์,
2563)
ส าหรับปัจจัยเร่งนั้น การรวมตัวของประชาชนในชุมชนด้วยการขับเคลื่อนจากภายในชุมชน
เอง หรือการได้รับแรงสนับสนุนจากภายนอก การลุกขึ้นมาทวงถามถึงสิทธิชุมชนขั้นพื้นฐานในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ตลอดจนวิถีชีวิตในท้องถิ่นและการปกป้องผลกระทบเชิงลบที่อาจ
เกิดขึ้นกับชุมชน เป็นกระบวนการส าคัญที่ประชาชนในพื้นที่อาจใช้เพื่อพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง
อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยและการตระหนักเพิ่มมากขึ้นของการส านึกรู้ ในรูปของประชา
สังคม มากกว่าที่จะรอรับการช่วยเหลือหรือถูกควบคุมสั่งการจากรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แสดงให้เห็นถึงการ
ต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐและอิทธิพลของระบอบทุนซึ่งด ารงอยู่ในสังคมเสรีทุนนิยม (จักรกฤษ
กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560)
รูปแบบการเคลื่อนไหวเพื่อทรัพยากร พบว่า รูปแบบการเคลื่อนไหวทั้งแบบทางการ และ
ไม่เป็นทางการ ในแบบทางการประชาชนได้ใช้กลไกทางกฎหมาย ส่วนไม่เป็นทางการมีการยึดกลุ่มเครือข่าย
เป็นหลัก เครือข่ายอาจมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้าง การขับเคลื่อนของแต่ละเครือข่ายมีหลากหลาย ที่เห็น
ชัดเจนในช่วงหลังคือการใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อการสื่อสารกันภายในเครือข่าย ที่ส าคัญอย่างยิ่งคือ องค์
ความรู้ที่เข้มแข็งโดยเฉพาะทรัพยากรของแต่ละชุมชนเป็นเกราะป้องกันชั้นดีในการการเคลื่อนไหวให้ประสบ
ความส าเร็จ เพราะถือเป็นอ านาจทางองค์ความรู้ที่ท าให้ภาคประชาชนได้รับการยอมรับในพื้นที่นโยบาย
การเคลื่อนไหวแบบเป็นทางการที่พบ ได้แก่ งานวิจัยของ นิยม ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย,
และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ พบว่า 1) กระบวนการสร้างข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อเป็นกลไกการจัดการทรัพยากร
ร่วมของชุมชนเป็นการเคลื่อนไหวภาคประชาชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการ
พัฒนาประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น และร่วมกันใช้อ านาจโดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้สิทธิตาม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ สร้างกลไกอ านาจในระดับท้องถิ่น และอาศัยอ านาจตามข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อต่อสู้เชิง
อ านาจระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในระดับพื้นที่ที่มีอ านาจตามกฎหมายจากส่วนกลางในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ และมีกลไกการท างานที่เกิดจากการต่อรองอ านาจในการจัดการทรัพยากรในชุมชน และ
2) เงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการเมืองต่อการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นผลการวิจัย พบว่า เงื่อนไข
เชิงโครงสร้างมีกฎหมายและนโยบายที่เอื้อและบางฉบับที่ขัดต่อกระบวนการจัดท าข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยชุมชน
ท้องถิ่นได้มองเห็นโอกาสช่องทางการกระจายอ านาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น นับตั้งแต่รัฐได้
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 ดังนั้น การสร้างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือใน
การจัดการทรัพยากรร่วมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการ
ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป (นิยม ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย, และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ, 2562)
ส าหรับรูปแบบเครือข่ายแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น งานวิจัยของ ปิยาณีย์ เพชรศรีช่วง พบว่า
รูปแบบการเมืองของชาวประมงพื้นบ้านเลเสที่มีมากที่สุด ได้แก่ ด้านกลุ่มเครือข่าย ซึ่งกลุ่มเครือข่ายไม่มี
โครงสร้างกลุ่มที่ชัดเจน แต่มีการบริหารจัดการกันเอง ฯลฯ (ปิยาณีย์ เพชรศรีช่วง, 2557) การรวมกลุ่มเป็น
เครือข่ายร่วมที่มีโครงสร้าง เช่น งานวิจัยของ วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์ พบว่า มีเครือข่ายจ านวน
16 องค์กร ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่มีนักอนุรักษ์ค่อนข้างหลากหลายอาชีพ เช่น กลุ่มรักแม่ปิง กลุ่มรักแม่ข่า กลุ่ม
115