Page 125 - kpiebook65022
P. 125
(คนางค์ คันธมธุรพิจน์ และคนอื่น ๆ, 2561) ศึกษาเกี่ยวกับการทบทวนแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของ
แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ หรือการศึกษาเกี่ยวกับตัดสินใจเชิง
นโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม (โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร
สระมาลีย์, 2563) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ
การศึกษาปัญหาทางกฎหมายในระบบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา พรมหล้า, 2564) ศึกษาเกี่ยวกับ
ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับโครงการการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในประเทศ
ไทยปัจจุบัน และศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัยในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา
(จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ, 2561) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลเชิงกระบวนการของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ของโครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัย จังหวัดนครราชสีมา
จากงานวิจัยดังกล่าว สรุปข้อค้นพบเกี่ยวกับ EIA ได้แก่ รูปแบบของ EIA ในประเทศไทย
ประสิทธิผลของ EIA และปัญหาและอุปสรรคของ EIA ดังนี้
รูปแบบของ EIA ในประเทศไทย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบ EIA ในประเทศไทยกับประเทศอื่น
แล้ว EIA ของไทยมีการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วม แต่ยังมีความตายตัว และขาดระบบสนับสนุน
การมีส่วนร่วม โดยมีการศึกษาของ จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ ที่พบว่า ประเทศไทยก าหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ตั้งแต่ขั้นตอนการก าหนดแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Scoping Stage) เหมือนกับ
เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยต่างจากแคนาดาและญี่ปุ่นในเรื่องการก าหนดผู้
มีส่วนได้เสีย เนื่องจาก ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มเข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ขณะที่
แคนาดาและญี่ปุ่น ก าหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ดี ประเทศไทยก าหนดรูปแบบการ
รับฟังความคิดเห็นที่เป็นทางการและตายตัวซึ่งต่างจากสวีเดน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ส่วนการ
สร้างเสริมศักยภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วม ประเทศไทยไม่มีการสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งแตกต่างจาก
แคนาดาที่รัฐจัดตั้งกองทุนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเข้าร่วม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ, 2561)
ประสิทธิผลของ EIA พบว่าในภาพรวม EIA ในประเทศไทยมีการด าเนินไปตามหลักเกณฑ์แต่
มีปัญหาในบางโครงการ ดังที่ จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ กล่าวว่า รายงาน EIA ของโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตาม
เกณฑ์ของประสิทธิผลฯ แต่รายงาน EIA บางโครงการมีข้อจ ากัดด้านการเข้าถึงรายละเอียดข้อมูลของโครงการ
ท าให้มีข้อมูลไม่เพียงพอส าหรับการประเมินประสิทธิผลเชิงกระบวนการ (จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ, 2561)
ปัญหาและอุปสรรคของ EIA ที่พบ ได้แก่ การขาดการมีส่วนร่วม ปัญหาเชิงโครงสร้างด้าน
กฎหมายและหน่วยงาน ระยะเวลาจ ากัดในการท า EIA รายงานและการติดตามผล ราะละเอียดดังนี้ 1) การ
ขาดการมีส่วนร่วม การตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัญหาที่ก าลัง
คุกคามสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร
สระมาลีย์, 2563) ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการท ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(วนิดา พรมหล้า, 2564) บางโครงการ พบว่า การด าเนินการยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในกระบวนการ EIA (จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ, 2561)
112