Page 127 - kpiebook65022
P. 127
กรณีลุ่มน้ าแม่แรก อ าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (ธนานุช สงวนศักดิ์, 2542) หรือพลวัตการเคลื่อนไหวและ
การต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์,
2557) ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตในการเคลื่อนไหวของชาวบ้านปากมูล และวิเคราะห์แนวทางในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟู
วิถีชีวิตชุมชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
ยกตัวอย่างกรณีทรัพยากรเหมืองแร่ เช่น การบริหารปกครองด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กับข้อสังเกตกรณีเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จังหวัดชัยภูมิ (จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ
คล่องด าเนินกิจ, 2560) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการส ารวจแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารปกครองด้าน
สิ่งแวดล้อม หรือการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมคัดค้านเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี (ฐากูร
สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่, 2553) ที่ศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขที่น ามาสู่การก่อเกิดและการเติบโตของกลุ่ม
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี และศึกษายุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
ยกตัวอย่างกรณีป่าไม้ เช่น การใช้การสื่อสารทางการเมืองในเรื่องของการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเครือข่าย ที่ศึกษาเพื่อผลักดันไปสู่การตัดสินใจทางนโยบาย หรือ
การศึกษาการเมืองของพื้นที่ธรรมชาติในท้องถิ่นภายใต้วาระนโยบายสิ่งแวดล้อมโลก กรณีศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ าที่
มีความส าคัญระหว่างประเทศในประเทศไทย (สุชาดา วัฒนา, 2550) ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ าท้องถิ่น จังหวัด
เชียงรายและจังหวัดกระบี่ ซึ่งถูกน าไปเป็นพื้นที่ชุมน้ าโลกอย่างไรและโดยสถาบันใด หรือเรื่องนักสิ่งแวดล้อมที่
รู้คิด: สิ่งประดิษฐ์สร้างทางการปกครองเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ
ปัดไธสง, 2558) ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างนักสิ่งแวดล้อมจากแนวคิดชีวะการเมืองบนพื้นฐานของการ
บริหารจัดการชีวิตด้วยวิธีการของเทคโนโลยีแห่งตัวตน จากกรณีคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านกลาง ต าบลบ้านดง
อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง หรือกระบวนการสร้างกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนโดยใช้ข้อบัญญัติ
ท้องถิ่น (นิยม ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย, และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ, 2562) ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้าง
ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นกลไกการจัดการทรัพยากรป่าไม้ร่วมของชุมชน และเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทาง
กฎหมาย และการเมืองต่อการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคพลเมือง
ต่อการทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์, 2563) ศึกษาเกี่ยวกับขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคมของภาคพลเมืองต่อการทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเกิดการตื่นตัวจาก
คนในพื้นที่และขยายไปสู่เครือข่ายภายนอก เป็นต้น
นอกจากนี้ มีกรณีทรัพยากรทางทะเล เช่น รูปแบบการเมืองภาคประชาชนด้านการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมของกลุ่มพื้นบ้านเขตเลเส (สี่) บ้าน จังหวัดตรัง (ปิยาณีย์ เพชรศรีช่วง, 2557) ศึกษาเกี่ยวกับ
ลักษณะการเมืองภาคประชาชนในการปกป้องทรัพยากรชายทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน
ข้อค้นพบในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ สาเหตุของการเคลื่อนไหว รูปแบบการ
เคลื่อนไหว ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ดังนี้
สาเหตุการเคลื่อนไหวของประชาชนต่อประเด็นทรัพยากร พบว่า การเคลื่อนไหวท าให้เกิด
การรวมตัวต่อประเด็นทรัพยากร ปัจจัยกระตุ้น คือ ความร่วมมือกับภายนอก ประเด็นเฉพาะทรัพยากรมีทั้ง
เรื่องป่าไม้ สภาพอากาศ หรือทรัพยากรน้ า ดังที่ เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง พบว่า วิกฤติการณ์
ของชุมชนได้สร้างความเป็นผู้น าด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวตนของผู้พิทักษ์ป่าที่เกิดขึ้นจากการ
สอดส่องดูแลผืนป่า (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง, 2558) สอดคล้องกับงานวิจัยในพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่ พบว่า วิกฤตการณ์ของคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการรวมกลุ่มเพื่อเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา
114