Page 132 - kpiebook65022
P. 132
สาเหตุการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเด็นมลพิษ เป็นการได้รับผลกระทบจาก
สิ่งแวดล้อมและการขาดการมีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนการได้รับผลกระทบจึงเกิดการเรียกร้องของ
ประชาชน มีงานวิจัยหลายชิ้น เช่น การพบว่าปัจจัยที่น าไปสู่การรวมกลุ่มของภาคประชาชนต่อการคัดค้าน
โรงงานก าจัดขยะมูลฝอยครบวงจร เพราะประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องผลกระทบต่อทาง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาผลกระทบกลิ่นเหม็นจากขยะ
ฝุ่นละออง ปัญหาการเกษตร ปัญหาสาธารณูปโภคและบริโภค ปัญหาสาธารณสุขที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนในพื้นที่ (วินิจ ผาเจริญ, 2561) ความเดือดร้อนที่เครือข่ายต้องเผชิญ ประกอบด้วย ผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563) ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ า (สินทบ มั่นคง, 2552)
ในเชิงการบริหารจัดการของภาครัฐ ประชาชนยังไม่พอใจที่โครงการดังกล่าวขาดความ
โปร่งใส และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงท าให้ประชาชนในพื้นที่ออกมาคัดค้านการด าเนินงานก่อสร้าง
โครงการดังกล่าวฯ (วินิจ ผาเจริญ, 2561) การขาดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย ยังมีช่องว่าง
ทางกฎหมาย หน่วยงานรัฐละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563) นอกจากนี้ ยังพบเหตุ
ปัจจัยที่เป็นการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนให้มีมากขึ้น ดังงานวิจัยบางชิ้นพบว่า ปัจจัย
ความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้แก่ ปัจจัย
นอกเหนือการควบคุมจากรัฐประหาร พ.ศ.2549 และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2550 (เคนซูกะ ยามากูชิ
และคนอื่น ๆ, 2563) ปัจจัยเสริมการท างานที่มีประสิทธิภาพ จากการสนับสนุนทางการเงิน และการถ่ายโอน
เทคโนโลยีเพื่อรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยการเชื่อมโยงกับเครือข่ายทางสังคมทั่วโลกของนักรณรงค์ใน
ประเทศ (เคนซูกะ ยามากูชิ และคนอื่น ๆ, 2563)
รูปแบบการเคลื่อนไหวในประเด็นมลพิษ จากงานวิจัยที่พบ รูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
ต่าง ๆ มีความหลากหลายเช่นกัน แต่การเคลื่อนไหวในประเด็นมลพิษ ให้ข้อค้นพบที่สะท้อนให้เห็นว่ามี
ระเบียบแบบแผนมากกว่า เช่น บทบาททางการเมืองของกลุ่มแม่เมาะเป็นการต่อสู้ตามช่องทางของกฎหมาย
(สินทบ มั่นคง, 2552) การยื่นหนังสือผ่านกลไกของระบบราชการ การต่อสู้ผ่านใช้สิทธิตามกฎหมาย การใช้
กลไกทางสังคมมาเป็นเครื่องมือในการคว่ าบาตรทางสังคมในการต่อสู้ (วินิจ ผาเจริญ, 2561) หรือตัวอย่าง
งานวิจัยของอัฏฐพร ฤทธิชาติ ที่พบว่า การใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์พลเมืองโดยการตรวจสอบคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ได้รับปัญหามลพิษอุตสาหกรรม มีแนวทางการด าเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ การประสาน
ความร่วมมือกับนักวิชาการ การพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชน การพัฒนาศักยภาพ
องค์กรและเครือข่ายภาคประชาชน การศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการใช้ข้อมูลเพื่อสื่อสาร
ต่อสาธารณะให้เกิดการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนกฎหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป (อัฏฐพร ฤทธิชาติ,
2563) นอกจากนี้ มีการเคลื่อนไหวในแบบทั่วไป เช่น การกดดัน ประชุมนุมประท้วงปิดถนน หรือการสื่อสาร
กับสาธารณะ (วินิจ ผาเจริญ, 2561)
ปัญหาและอุปสรรคการขับเคลื่อนในประเด็นมลพิษ พบประเด็นที่หลากหลายเช่นกัน ในภาพ
กว้างระดับนโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย มีงานวิจัยหนึ่งชิ้นพบว่ามีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ
มลพิษ ได้แก่ งานวิจัยของ นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ พบว่า การด าเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมมี
ส่วนส าคัญในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตามทิศทางการพัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกัน ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดจากผลการด าเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคม
อุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายหลักเกี่ยวกับการด าเนินงานของนิคม
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งสาระของกฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นภาพรวมทั่วไปกับโรงงานที่ไม่ได้อยู่ใน
119