Page 137 - kpiebook65022
P. 137

สิ่งแวดล้อม 7) การให้ข้อมูลกับหน่วยงานรัฐเพื่อการตัดสินใจทางนโยบายที่ค านึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม และ
               8) การสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมสู่คนในสังคม (รจนา ค าดีเกิด, 2561)

                              อุปสรรค ที่พบในการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความ

               แตกต่างหนึ่งที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และมลพิษ คือ พบอุปสรรคในเชิง
               แนวคิดของผู้ก าหนดนโยบายต่อประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกนั้นเป็นอุปสรรคในเชิงการบริหารจัดการของ
               หน่วยงานรัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ รจนา ค าดีเกิด พบว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งไทย
               และอินโดนีเซียมีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจาก ต่างเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอันน ามาสู่การเกิดผลกระทบด้าน

               สิ่งแวดล้อม (รจนา ค าดีเกิด, 2561) หรืออุปสรรคในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิชุมชนในการต่อรองเชิงนโยบาย
               เกิดจากการใช้อ านาจบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร และการเร่งรัดพัฒนาแบบเสรีนิยม (สุภาวดี
               แก้วประดับ, 2546)

                              ส่วนปัญหาเชิงบริหารจัดการองค์กรกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ปัญหาที่พบในการ
               ด าเนินงานของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลต่อโครงการเมืองน่าอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากกรณีศึกษา

               ได้แก่ งบประมาณด าเนินการน้อย ประชาชนขาดความรู้ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยัง
               ขาดการติดตามผลและขาดความต่อเนื่องในการติดตามผล (อุบล จันทร์เพชร, 2543) หรือปัญหาการ
               ด าเนินงานของเทศบาลบ้านหมี่ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับต่ า ขาดความรู้ ความเข้าใจ การขาดการ
               ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการส่งเสริมประชาชนยังขาดความต่อเนื่อง (วารุณี พิมพา, 2545)


                              เงื่อนไขการน าไปสู่การเมืองสิ่งแวดล้อมที่พึงประสงค์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน มีข้อค้นพบที่
               สอดคล้องต่ออุปสรรคของการบริหารจัดการองค์กรกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่น าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
               ที่ได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้ ที่ภาครัฐสามารถด าเนินการได้ทั้งกับภาคประชาชนและเอกชน ได้แก่ การท าให้สิทธิ
               ชุมชนไปสู่การปฏิบัติขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเรื่องความชัดเจนในการกระจายอ านาจ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการ
               มีส่วนร่วมของชุมชน (สุภาวดี แก้วประดับ, 2546) หรือการส่งเสริมภาคเอกชนโดยส่งเสริมตามปัจจัยที่เสนอ

               โดย นิศามาศ เลาหรัตนาหิรัญ  กฤช จรินโท  และบรรพต วิรุณราช ที่พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ
               ของธุรกิจโรงแรมในความหลากหลายทางชีวภาพมี 8 ด้าน คือ  1) ด้านคน เช่น การฝึกอบรม การให้ความรู้
               การให้รางวัลและผลตอบแทน เป็นต้น  2) ด้านเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ การแข่งขันของธุรกิจ

               โรงแรม กลุ่มลูกค้าที่ให้ความส าคัญด้านสิ่งแวดล้อม  3) ด้านสังคม เช่น ความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชน
               สภาพแวดล้อมรอบโรงแรมน่าอยู่  4) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ระบบการจัดการ
               สิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐาน  5) ด้านกฎหมาย เช่น การบังคับใช้กฎหมายกรีนลีฟ (Green Leaf) กรีนโฮเทล
               (Green Hotel) กฎหมายด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment:

               EIA) ฯลฯ  6) ด้านเทคโนโลยี เช่น การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน มีระบบบ าบัดน้ าเสียที่ได้มาตรฐาน
               การใช้แผงโซล่าเซลล์ ฯลฯ  7) ด้านการเมือง เช่น นโยบายของภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ  8) ด้านองค์การ
               เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การสื่อสารภายในโรงแรม จริยธรรมในการด าเนินธุรกิจ เป็นต้น (นิศามาศ เลาหรัตนา
               หิรัญ, กฤช จรินโท, และบรรพต วิรุณราช, 2559)

                              ล าดับที่หก ประเด็นพลังงาน (Energy)

                              การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านพลังงาน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

               ของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมต่อผลกระทบจากโครงการของรัฐและ/หรือเอกชน โดยมีกรณีศึกษาต่าง ๆ
               พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นพลังงาน จ านวน 3 เรื่อง ได้แก่ งานวิจัยการเมืองเกี่ยวกับผลกระทบต่อ




                                                           124
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142