Page 133 - kpiebook65022
P. 133
พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ขณะที่ ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเป็นปัญหาที่เกิดจากโรงงาน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อนและเกี่ยวกับด้านสารเคมี ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงและมี
ลักษณะเฉพาะ ซึ่งเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม การบังคับใช้ตามสาระกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้
กับโรงงานที่ก่อปัญหาหลักในปัจจุบันได้ (นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ, 2563)
ในเชิงองค์กรมีตัวอย่างงานวิจัยของ ขวัญฤดี จันทิมา พบว่า สภาพปัญหาของท้องถิ่นและ
ข้อจ ากัดต่าง ๆ อปท. ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 ไม่มีสถานที่ก าจัดขยะ ใน อปท. ที่มีสถานที่ก าจัดขยะจ านวน
มากกว่าครึ่งหนึ่ง มีระบบการก าจัดที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล แม้ว่า อปท. ส่วนใหญ่เริ่มมีกิจกรรมส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมจากชุมชนในการจัดการขยะในหลายรูปแบบ แต่ยังด าเนินการเฉพาะบางชุมชน และยังมีปัญหาด้าน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การประชาสัมพันธ์ และสมรรถนะองค์กรในการจัดการขยะ (ขวัญฤดี
จันทิมา, 2557) สอดคล้องกับงานวิจัยอื่น เช่น พบการไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (สินทบ มั่นคง, 2552)
การบริหารโครงการยังไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ผู้บริหารขาดความจริงใจในการแก้ปัญหา ช่องว่างทาง
กฎหมาย การขาดแคลนอุปกรณ์ ตลอดจนการขาดแคลนบุคลากร ฯลฯ (สุทธบท ซื่อมาก, 2554) โดยการมี
ส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นไปอย่างจ ากัดที่ระดับให้ความคิดเห็น เนื่องจาก ภาครัฐด าเนินการเป็นหลัก (สุทธบท
ซื่อมาก, 2554)
ส าหรับประชาชนทั่วไป มีงานวิจัยที่สะท้อนให้เห็นความประชาชนมีความตระหนักแต่ยังขาด
การจัดการ โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจว่าขยะและสิ่งปฏิกูล ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมเป็นอันตรายต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ยังขาดความเข้าใจในการจัดการ (เกียรติศักดิ์
ดวงจันทร์, 2561)
ข้อเสนอแนะเพื่อการเคลื่อนไหวในประเด็นมลพิษ พบข้อเสนอแนะในภาพรวมกับบทบาท
ของภาคประชาชน ได้แก่ นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ เสนอว่าจะท าอย่างไรให้นิคมอุตสาหกรรมรับ
บทบาทในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมี
ประสิทธิภาพ (นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ, 2563) ส่วนภาคประชาชน อัฏฐพร ฤทธิชาติ เสนอว่าควรมี
การใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดท าข้อมูล เพื่อ
แสดงความเห็นคัดค้านก่อนการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563)
ล าดับที่สี่ ประเด็นอื่น ๆ (Others)
ส าหรับประเด็นอื่น ๆ (Others) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อม
ในประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจาก 8 ประเด็นที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ได้แก่ การมีส่วนร่วมโดยทั่วไปทั้งในระดับพื้นที่
และระหว่างประเทศ นโยบายพรรคและกลุ่มการเมือง พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ไม่สามารถจัดเข้ากับประเด็นที่
วางไว้ จ านวน 6 เรื่อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุป ดังนี้
การมีส่วนร่วมทั่วไปทั้งในระดับพื้นที่และระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมทั่วไปในระดับพื้นที่
ได้แก่ งานวิจัยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล:
ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (อารีรัตน์ วชิรเสรีชัย, 2539) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชน และ
งานวิจัยความร่วมมือระหว่างไตรภาคีในการจัดการสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร (วัฒนา อร่ามเธียรธง และ
โสภิณ โพยมรัตนสิน, 2563) ที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะความร่วมมือระหว่างไตรภาคีและปัจจัยที่ท าให้เกิดความ
ร่วมมือระหว่างไตรภาคีในการจัดการสิ่งแวดล้อม
120