Page 131 - kpiebook65022
P. 131

องค์กรการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย  1) บทบาทของนักพัฒนาเอกชนในการหนุนเสริมกระบวนการชาวบ้าน
               2) การสร้างเครือข่ายและขบวนการบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบเครือญาติและชุมชน 3) บทบาทของแกนน า

               ชาวบ้านในการหนุนเสริมองค์กรการเคลื่อนไหว  4) การมีอิสระขององค์กรและประชาธิปไตยภายในองค์กร
               รวมถึงการมีกลุ่มระดับย่อยในองค์กรการเคลื่อนไหว ซึ่งได้แปรเปลี่ยนความเห็นพ้องต้องกันของชาวบ้านที่มีต่อ
               ปัญหา และก่อให้เกิดความสามารถในการระดมทรัพยากร จนน ามาสู่การกระท ารวมหมู่และการเติบโตของ
               ขบวนการได้ (ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่, 2553)

                              ล าดับที่สาม ประเด็นมลพิษ (Pollution)

                              ส าหรับประเด็นมลพิษ (Pollution) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของประชาชนในการ

               เคลื่อนไหวและจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางดิน น้ า อากาศ ตลอดจนขยะ
               และสิ่งปฏิกูล พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นมลพิษ จ านวน 8 เรื่อง อาจจัดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการ
               รวมกลุ่มของประชาชน ได้แก่ บทบาททางการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ าเภอแม่เมาะต่อปัญหาด้าน
               สิ่งแวดล้อมในอ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง (สินทบ มั่นคง, 2552) ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาท ปัจจัย ปัญหา และ

               เสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์แม่เมาะ หรือความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม
               ต่อการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล (เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์, 2561) ที่ศึกษาเกี่ยวกับบริบทพื้นที่ ความรู้ สภาพ
               ปัญหา ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล หรือขบวนการเคลื่อนไหว
               ของภาคประชาชนต่อการคัดค้านโรงงานก าจัดขยะมูลฝอยครบวงจร บ้านป่าตึงน้อย ต าบลป่าป้อง อ าเภอดอย

               สะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (วินิจ ผาเจริญ, 2561) ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่น าไปสู่การรวมกลุ่มของภาคประชาชน
               ต่อการคัดค้านโรงงานก าจัดขยะมูลฝอยครบวงจร หรือการใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองโดยองค์กรภาค
               ประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา เครือข่ายภาคประชาชน จังหวัดระยอง

               (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563) ที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองโดย
               องค์การภาคประชาชน

                              บางงานวิจัยศึกษาเชิงโครงสร้างโดยศึกษาบทบาทหน่วยงาน อย่างองค์กรปกครองส่วน
               ท้องถิ่น หรือกลไกการท างานของหน่วยงานรัฐ ได้แก่ การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณี โครงการคลองสวยน้ าใส (สุทธบท ซื่อมาก, 2554) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการมี

               ส่วนร่วมของภาคประชาชนในโครงการคลองสวยน้ าใสของเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดนนทบุรี การน านโยบาย
               การจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติวิเคราะห์ การจัดการขยะของเทศบาลและ
               องค์การบริหารส่วนต าบล ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอ านาจเจริญ (ขวัญฤดี จันทิมา, 2557) ศึกษา
               เกี่ยวกับการน านโยบายจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไป

               ปฏิบัติ วิเคราะห์ปัจจัยในการน านโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ หรือกลไกทาง
               สังคม เพื่อผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา การฟ้องร้องคดีปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาบตาพุด
               (เคนซูกะ ยามากูชิ และคนอื่น ๆ, 2563) ศึกษาเกี่ยวกับกลไกทางสังคมในการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
               ของกรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง หรือการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับนิคม

               อุตสาหกรรม (นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ, 2563) ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ใช้
               บังคับในนิคมอุตสาหกรรม

                              ผลจากการศึกษาสามารถจ าแนกประเด็นได้คล้ายกับงานวิจัยตามประเด็นยุติธรรม
               สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน หากแต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด แบ่งเป็นสาเหตุของการ
               เคลื่อนไหวของประชาชน รูปแบบ ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ



                                                           118
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136