Page 126 - kpiebook65022
P. 126
ซึ่งการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ท าให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ดังที่
โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร สระมาลีย์ กล่าวว่า การพัฒนาที่ยังขาดการมีส่วนร่วม อาจเกิดการใช้
เทคโนโลยีในการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม การละเลยของผู้บริหารและ
ผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งการผลิตให้ได้จ านวนมากที่สุดเพียงอย่างเดียว โดยไม่ค านึงถึงผลเสียที่จะตามมา รวมทั้งเจตคติ
ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและส่งผลให้ถูกปนเปื้อน
ด้วยสิ่งแปลกปลอมหรือของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตทั้งในรูปของวัตถุดิบและพลังงาน ทั้งที่มี
ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพโดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เจือปนอยู่ในธรรมชาติมาก จนเกินระดับที่กระบวนการ
ฟอกตัวของระบบธรรมชาติ (Natural Purification Process) จะรองรับได้ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ
อนามัยของมนุษย์ รวมทั้ง ระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตทั้งมวล และพืชผลทางการเกษตร ความสั่นสะเทือน ขยะมูลฝอย
และสิ่งปฏิกูล กากสารพิษ และทางเสียง ที่เห็นได้ชัดเจน คือ น้ าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยลงแหล่งน้ า
ต่าง ๆ และอากาศเป็นพิษจนเป็นข้อพิพาทระหว่างเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมกับชาวบ้านและองค์กรต่าง ๆ ใน
สังคม และมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของปัญหาและถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยตลอดมา
แม้รัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตได้บัญญัติถึงการให้ความคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมและ
หลักการป้องกันล่วงหน้ามาบ้างแล้วก็ตาม (โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร สระมาลีย์, 2563)
2) ปัญหาเชิงโครงสร้างด้านกฎหมายและหน่วยงาน เช่น กฎหมายอันเกี่ยวกับระบบรายงาน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส าหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น เช่น การขาดบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจน
ถึงการก าหนดให้ทางหลวงท้องถิ่นเป็นหนึ่งในโครงการที่จะต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา พรมหล้า,
2564) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (วนิดา พรมหล้า, 2564)
3) ระยะเวลาจ ากัดในการท า EIA พบว่า การด าเนินการที่เกี่ยวข้องตามกรอบเวลาที่ก าหนด
ไว้ในระเบียบหรือกฎหมาย สะท้อนถึงช่องว่างและข้อจ ากัดด้านบริบทที่อาจแตกต่างกันของแต่ละโครงการ
เช่น เจ้าของโครงการได้มีการส่งมอบรายงานให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าร่วมโครงการผ่านทางฐานข้อมูล
ของส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่การด าเนินกิจกรรมบางโครงการยังไม่
เป็นไปตามกรอบเวลาที่ระเบียบกฎหมายก าหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้บางโครงการยังมีการด าเนินการไม่สอดคล้อง
กับเกณฑ์ดังกล่าว (จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ, 2561) หรือ การพิจารณาของคณะกรรมการผู้ช านาญการ (คชก.) คือ
มีข้อจ ากัดในด้านระยะเวลาของการให้ความเห็นต่อการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา พรมหล้า,
2564) และอุปสรรคประการสุดท้ายที่พบ 4) รายงานและการติดตามผล พบว่า รายงานฯ รวมถึงเนื้อหาของ
รายงานที่มีจ านวนมาก ใช้ภาษาเขียนรายงานที่เป็นภาษาเทคนิค ท าให้ยากแก่การท าความเข้าใจ และมี
ข้อจ ากัดด้านการติดตามตรวจสอบภายหลังการอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการด าเนินการ
โครงการตามที่ได้รับอนุมัติ (วนิดา พรมหล้า, 2564)
ล าดับที่สอง ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน การเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาชนต่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน น้ า ป่าไม้ อีกทั้ง ยังมีประเด็นในเรื่องของการ
สร้างเหมือง เขื่อน โดยมีกรณีศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ จ านวน
11 เรื่อง สามารถสรุปประเด็นได้คล้ายกันกับประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนไหวของ
ภาคประชาชน แต่มีเนื้อหาที่ลึกลงไปในแต่ละทรัพยากร ยกตัวอย่างการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ า เช่น
บทบาทของเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสื่อสารทางการเมือง: ศึกษาเฉพาะ
113