Page 124 - kpiebook65022
P. 124
รูปแบบการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน พบว่า ภาคประชาชนมีรูปแบบการเคลื่อนไหวใน
รูปแบบเครือข่ายเป็นส่วนใหญ่ โดยภายใต้ของเครือข่ายนั้นมีวิธีการที่หลากหลายเพราะได้มีการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ที่ผ่านมา ดังที่ ประสิทธิ์ ลีปรีชา และกนกวรรณ มีพรหม กล่าวว่า ท่ามกลางกระแสและ
วาทกรรมการพัฒนาที่มุ่งสู่ระบบทุนนิยมในระยะที่ผ่านมา แกนน าชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่ซา ได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับผู้คนในชุมชนอื่น และขยายเครือข่ายการท างานร่วมกับองค์กรภาคีทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
และนานาชาติ แล้วท าการผลิตเพื่อการอนุรักษ์ อีกทั้ง ใช้เครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในการต่อสู้ เพื่อให้
รัฐบาลล้มเลิกโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่แบบเครือข่ายเป็นหนึ่งใน
ยุทธศาสตร์ส าคัญที่แกนน าชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่ซา และพื้นที่ใกล้เคียงได้น ามาใช้ในการต่อสู้เพื่อให้ระงับ
โครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่มในที่สุด (ประสิทธิ์ ลีปรีชา และกนกวรรณ มีพรหม, 2562) หรือกิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว
และคนอื่น ๆ ที่พบว่าชาวบ้านได้ประสานกับกลุ่มและเครือข่ายนอกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น
มากกว่าการที่จะออกมาคัดค้านเพียงล าพัง โดยเฉพาะในการวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว
และคนอื่น ๆ, 2563)
ส าหรับตัวอย่างวิธีการหรือการปรับบทบาทการเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มชาติพันธ์ุม้งมีการ
ปรับตัวโดยปรับบทบาทเป็นผู้อนุรักษ์ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการช่วงชิงอ านาจรัฐ (ดริญญา โตตระกูล, 2546)
กลุ่มผู้หญิงที่มีแนวทางการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารทางการเมือง การใช้กฎหมายและนโยบาย ฯลฯ
การมีเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร ท าให้สตรีในชุมชนมีความตื่นตัวในปัญหาตนเอง และปัญหาสังคมมากขึ้น มีการ
ออกไปเรียกร้องยังสถานที่ราชการ จากเดิมที่ถูกจ ากัดด้วยวัฒนธรรมและอ านาจรัฐ ตลอดจน การขาดความรู้
ท าให้ไม่กล้าแสดงออก (ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข, 2550) ซึ่งพลวัตของขบวนการมีการเปลี่ยนยุทธวิธีที่
หลากหลายมากขึ้นตามช่วงเวลาและนโยบายรัฐบาล แต่มีแนวโน้มใช้สันติวิธี ประนีประนอมมากขึ้น เพราะรัฐ
ใช้กระแสการเมืองท้องถิ่นและนโยบายประชานิยม (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ, 2563)
ปัญหาและอุปสรรคของการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ภาคประชาชนยังคงมีอุปสรรคใน
การขับเคลื่อนหลายประการ ดังที่ วิเชียร บุราณรักษ์ กล่าวว่า ภาคประชาชนยังขาดผู้น าและสมาชิกที่เข้มแข็ง
โครงสร้างอ านาจสังคมไทยท าให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยความล าบาก ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามมีกระบวนการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองที่แนบเนียน (วิเชียร บุราณรักษ์, 2548)
ข้อเสนอแนะต่อการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน พบการให้ข้อเสนอแนะในเชิงกฎหมาย
และการสื่อสาร ดังที่ อรพิน เลิศพรสุทธิรัตน์ และวนิดา พรมหล้า ให้ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมให้เกิดความ
ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในประเด็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ภายใต้ขั้นตอนการท าสวนป่าในท้องที่
ต าบลเมืองลีง ได้แก่ 1) แนวทางความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเชิงกระบวนการ มีกฎหมายให้สิทธิประชาชนใน
การตรวจสอบดูข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในส่วนของส่วนราชการ ภูมิภาค และท้องถิ่น 2) แนวทางการ
กระจายข่าวสารการให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนราชการมีการ
ประชาสัมพันธ์และกระจายข่าวในหลายรูปแบบ การกระจายข่าวสารในส่วนของประชาชน และแนวทางความ
ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเชิงการยอมรับ ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถท าสวนป่าและสามารถขอขึ้นทะเบียนสวน
ป่าได้แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบพระราชบัญญัติสวนป่า เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกป่า แจกกล้าไม้ เป็นต้น
(อรพิน เลิศพรสุทธิรัตน์ และวนิดา พรมหล้า, 2564)
ส าหรับงานวิจัยด้านความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาถึงรูปแบบ อุปสรรค และประสิทธิผลของ EIA ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ
111