Page 129 - kpiebook65022
P. 129

รักษ์ดอยสุเทพ โดยภาคพลเมืองได้ต่อสู้ด้วยการใช้หลักเกณฑ์ทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และจารีตประเพณี
               ตั้งคณะกรรมการเพื่อหาแนวทางการแก้ไข โดยร่วมกับฝ่ายรัฐบาลบางส่วน คือ ธนารักษ์ และนักวิชาการ เพื่อ

               หาทางออกร่วมกัน จนเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561 ภาคพลเมืองท าการเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อให้รัฐบาลท า
               ตามสัญญาและท าการรื้อถอนบ้านพักทั้ง 45 หลัง และคอนโดอีก 9 หลัง เพื่อให้ได้ป่าที่สมบูรณ์กลับคืนมา
               (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์, 2563)

                              การเคลื่อนไหวที่หลากหลายของแต่ละกลุ่มหลากหลาย เช่น เมื่อมีความไม่ชอบธรรมจะ
               ออกมาเคลื่อนไหวผ่านการประท้วง การรณรงค์อย่างหลากหลาย ฯลฯ (ปิยาณีย์ เพชรศรีช่วง, 2557) ชาวบ้าน

               มีการต่อสู้โดยใช้วาทกรรมช่วงชิงพื้นที่ทางสังคมและการเมืองในหลายโอกาส เช่น การสร้างเครือข่ายทางสังคม
               ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การผลิตความรู้ผ่านงานวิจัยไทบ้าน และนักวิชาการ (พนา ใจตรง และ
               กนกวรรณ มะโนรมย์, 2557) หรือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านช่องทาง Line และ Facebook ในการกระจาย
               ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนภายนอกได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์,

               2563)

                              ในส่วนอาวุธประกอบการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่จ าเป็น คือ ความรู้ ดังข้อค้นพบของ
               เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง พบว่า ความเป็นผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งหรือการเป็นผู้ที่
               รู้คิดได้ รู้เท่าทัน เข้าใจป่า อันเกิดจากการด าเนินชีวิตตามแนวประเพณีปฏิบัติของชุมชนเป็นความรู้ที่มีพลวัต
               ท าให้ชาวบ้านไม่ถูกครอบง าด้วยอ านาจที่แข็งเหมือนกฎหมาย หรือศาสตร์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มี

               บรรทัดฐานก าหนดไว้แน่นอน แต่เป็นภูมิปัญญาที่มีลักษณะยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อีกทั้ง
               ยังเป็นความรู้ที่ผูกติดอยู่กับตัว ชาวบ้านจึงสามารถที่จะจัดการหรือเปลี่ยนแปลงการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน
               ชุมชนไปตามกาลเวลา เพราะความรู้ดังกล่าวไม่ได้มีความถาวรหรือสถิตอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการ

               เฉพาะ ท าให้ชาวบ้านสามารถทบทวนและปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับองค์
               ความรู้ด้านการจัดการป่าที่เขายอมรับในแต่ละยุคสมัยได้ (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง, 2558)

                              ปัญหาและอุปสรรคในการเคลื่อนไหวประเด็นทรัพยากร พบว่า ยังมีอุปสรรคในศักยภาพของ
               ประชาชนเอง และอุปสรรคด้านอ านาจ ในการร่วมจัดการทรัพยากรที่ยังขาดความเท่าเทียม ในด้านศักยภาพ
               ของประชาชน เช่น ธนานุช สงวนศักดิ์ พบว่า เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรณีลุ่มน้ า

               แม่แรก จังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่สามารถใช้การสื่อสารทางการเมือง เพื่อผลักดันไปสู่การตัดสินใจทางการเมืองได้
               (ธนานุช สงวนศักดิ์, 2542) ส่วนอ านาจที่ไม่เท่าเทียม พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์ พบว่า
               แม้ประชาชนชาวปากมูลมีการต่อสู้หลายรูปแบบแต่ยังไม่สามารถต่อรองให้มีการเปิดประตูน้ าเขื่อนปากมูล
               อย่างถาวรได้ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐใช้วิธีคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองทุนตามการพัฒนา

               กระแสหลัก และไม่ได้ให้ความส าคัญกับชาวบ้านในฐานะกลุ่ม หรือองค์กรที่มีอุดมการณ์ทางสิ่งแวดล้อม
               แต่กลับมองชาวบ้านเป็นแค่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่อาศัยคนนอกเข้ามาผลักดันให้กลายเป็นเครือข่าย
               ทางสังคมในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างอ านาจในการต่อรอง ขณะที่ชาวบ้านปากมูลได้พิสูจน์ความเป็นตัวตนของ
               กลุ่มคนที่รวมกลุ่มกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ผ่านปฏิบัติการเคลื่อนไหวทาง

               สังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับ 2 ทศวรรษ การเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวบ้านปากมูลนั้น ถือเป็น
               ปรากฏการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล
               ต่อการด ารงชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่มีความส าคัญกับมนุษย์
               (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์, 2557) สอดคล้องกับ ธนานุช สงวนศักดิ์ พบว่า การเมืองและนโยบาย

               ในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ าของท้องถิ่นไปสู่วาระระดับโลก ยังคงเป็นการเมืองของผู้เชี่ยวชาญที่ทรงอิทธิพลในการ



                                                           116
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134