Page 123 - kpiebook65022
P. 123

จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ
               ภาคประชาชนได้ข้อค้นพบสรุปในประเด็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนไหว สาเหตุของการ

               เคลื่อนไหวโดยภาคประชาชน รูปแบบการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ปัญหาและอุปสรรคของการ
               เคลื่อนไหวของภาคประชาชน ข้อเสนอแนะ ดังนี้

                              เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เป็นไปเพื่อ 1) ให้รัฐแก้ไข
               ปัญหาหรือด าเนินการตามที่ประชาชนเรียกร้อง ดังที่ ประภาส ปิ่นตบแต่งกล่าวว่า จุดมุ่งหมายของขบวนการ
               ภาคประชาชนไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ยังเป็นการใช้การต่อสู้แบบพันธมิตรกับภาคประชาสังคม

               นักวิชาการ และอาศัยสื่อมวลชน ท าให้รัฐบาลสนองเป้าหมายของขบวนการ ในประเด็นต่าง ๆ เช่น ป่าไม้ ที่ดิน
               เขื่อน โครงการของรัฐ สารพิษและการท างาน ชุมชนแออัด เกษตรกรรมทางเลือก ตลอดจนประมงพื้นบ้าน
               (ประภาส ปิ่นตบแต่ง, 2540) หรือดังที่ กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ กล่าวว่า การขับเคลื่อนของ
               ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยแนวคิดประชาสังคม

               ผ่านการเชื่อมโยงของคนในชุมชนเป็นกลุ่มหรือชมรม และร่วมคัดค้านการก่อสร้างโครงการที่มีผลกระทบต่อวิถี
               ชีวิตของชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐและธุรกิจเอกชนแก้ไขปัญหาที่
               เกิดขึ้น (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ, 2563)

                              ประการที่ 2) เป็นไปเพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อให้เกิดการตรวจสอบ
               การท างานของรัฐและการเรียนรู้การท างานของภาคประชาชน ดังที่ เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ กล่าวว่า ประชา

               สังคมตามแนวคิดนี้เป็นพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นจากเทคนิควิธีทางการปกครองของรัฐในยุคสมัยปัจจุบันเพื่อ
               เป้าประสงค์ที่จะสร้างชุมชนจัดการตนเอง ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ทางอ านาจที่ดึงเอากลไก สถาบัน และ
               นักพัฒนาต่าง ๆ เข้ามากระท าร่วมกัน ภายในอาณาบริเวณของชุมชน การเกิดขึ้นของภาคประชาสังคมที่

               ต่อต้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐจากกรณีศึกษาในภาคใต้ 4 กลุ่ม นอกจากจะท าให้ประชาชนตระหนัก
               ถึงความเป็นประชาสังคมที่ถูกสร้างขึ้น ยังท าให้รับรู้ว่าภายใต้ความเป็นประชาสังคมแห่งใดก็ตามล้วนมีกฎ
               กติกาในการควบคุมตนเองอย่างเข้มข้น การเกิดขึ้นของประชาสังคมที่เข้มแข็งได้กลายเป็นเครืองมือส าคัญใน
               การตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์การท างานของรัฐที่ทรงพลังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรับประกันว่ารัฐจะสามารถดูแล
               ป้องกันประชาชนและสร้างสังคมที่เป็นปกติสุข (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์, 2562)


                              สาเหตุของการเคลื่อนไหวโดยภาคประชาชน พบว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนมัก
               เกิดขึ้นเมื่อความเป็นอยู่ของเขาได้รับผลกระทบจากโครงการหรือการพัฒนาของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึก
               ว่าโครงการนั้นขาดความชอบธรรม ไม่โปร่งใส เรียกร้องไปแล้วไม่เป็นผล ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการ
               เคลื่อนไหวมากขึ้น ในส่วนของประชาชนที่เป็นชาวบ้านจะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวมากขึ้นเมื่อได้มีปฏิสัมพันธ์กับ

               คนภายนอก ข้อสรุปนี้ เป็นดังที่ ประภาส ปิ่นตบแต่ง กล่าวว่า นโยบายและโครงการของรัฐที่ส่งผลกระทบทาง
               ลบเป็นเงื่อนไขส าคัญอันก่อให้เกิดขบวนการชาวบ้าน นอกจากนั้น เป็นเงื่อนไขด้านโอกาสทางสังคมและ
               การเมืองและการพัฒนาองค์กร (ประภาส ปิ่นตบแต่ง, 2540) เช่น โครงการของรัฐที่เน้นการพัฒนาและ
               อุตสาหกรรม (วิเชียร บุราณรักษ์, 2548) การคัดค้านเคลื่อนไหวเพราะมีปัญหาความไม่โปร่งใสของโครงการ

               ทั้งในการจัดท ารายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และการท าประชาพิจารณ์ ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มี
               ส่วนร่วมอย่างแท้จริง เมื่อการคัดค้านหรือเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง (กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ,
               2563) นอกจากนี้ ปัจจัยหนึ่งที่ชาวบ้านจะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวคือมีการร่วมมือกับเครือข่ายอนุรักษ์
               สิ่งแวดล้อม (วิเชียร บุราณรักษ์, 2548)






                                                           110
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128