Page 45 - kpiebook65021
P. 45
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
เข้าใจถึงแนวคิดและหลักการของการพัฒนานโยบายสาธารณะร่วมกัน โดยทุกภาคส่วน เช่น ภาคชุมชน ภาค
ธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาท าความเข้าใจถึงสิ่งที่ควรด าเนินการร่วมกัน 2) ความร่วมมือของ
หน่วยงานรับนโยบาย เป็นการสร้างความเข้าใจกับฝ่ายการเมืองและฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจ าของหน่วยงานที่จะ
น านโยบายไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการท างานที่เป็นหุ้นส่วนกัน 3) หน่วยงานรับนโยบายเป็นผู้จัด ในกระบวนการ
จัดเวทีนโยบายสาธารณะ หน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติเป็นผู้ด าเนินกระบวนการเองทั้งหมด ทั้งการออก
หนังสือเชิญ การด าเนินการสถานที่ ประสานงาน 4) ภาวะผู้น าของผู้บริหารท้องถิ่น ที่มีแนวคิดในการพัฒนา
นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อการจัดท ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะให้ส าเร็จ 5)
หน่วยงานมีความต้องการพัฒนา คือหน่วยงานมีประเด็นสาธารณะที่ต้องการพัฒนาเช่นกันแต่ยังขาดพลังจาก
ภาคประชาชนที่จะร่วมกันพัฒนาข้อเสนอนั้น 6) ผู้เข้าร่วมมีพลเมืองที่กระตือรือร้น หากผู้เข้าร่วมกระบวนการ
มีความกระตือรือร้นสูงก็จะมีแนวโน้มในการเข้าร่วมและท าให้การพัฒนานโยบายสาธารณะนั้นส าเร็จ และ 7)
มีหน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติ คือข้อเสนอการพัฒนาที่ได้ออกมานั้นมีหน่วยงานที่จะน าไปด าเนินการต่อจึง
จะถือว่ากระบวนการพัฒนานโยบายนั้นส าเร็จ
ส าหรับปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) กระบวนการจัดเวที เป็นกระบวนการที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วม มี
การใช้เทคนิควิธีการ ตลอดจนผู้เอื้ออ านวยกระบวนการที่ท าให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจในการเสนอทิศทางการ
พัฒนา และ 2) บทบาทขององค์กรวิชาการ สามารถท าหน้าที่สนับสนุนกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดย
สร้างความไว้วางใจและเอื้อกระบวนการให้แต่ละภาคส่วนพัฒนาข้อเสนอนโยบายร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนใน
การร่างข้อเสนอนโยบายต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ด้วย
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบาย หากแต่ถ้าพิจารณา
ในเชิงปัจจัยที่สรุปมานี้สามารถน าไปด าเนินการได้ในระดับท้องถิ่น หากจะพัฒนานโยบายสาธารณะจากภาค
ประชาชนในระดับจังหวัดตามกรอบการศึกษาครั้งนี้ จึงกว้างมากกว่า ตัวอย่างการศึกษาดังกล่าว จึงอาจ
น ามาใช้เป็นแนวทางวิจัยครั้งนี้ได้บางส่วน เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าผลลัพธ์
จากกระบวนการมีส่วนร่วมจะน าไปสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย ด้วยอุปสรรคส าคัญหลายประการ ได้แก่
การเมืองที่เกิดขึ้นในกระบวนการตัดสินใจขั้นสุดท้าย แม้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นแนวทางที่มี
การพัฒนามาเป็นเวลานาน แต่กับกระบวนการทางการเมืองของการตัดสินใจขั้นสุดท้าย การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนยังไม่ไปถึงขั้นนั้น และผลจากเวทีนโยบายดูเหมือนจะถูกเพิกเฉยในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพราะถูก
แทรกแซงโดยอ านาจทางการเมืองได้ง่าย (Emery et al., 2015)
อุปสรรคประการต่อมา ได้แก่ ผู้ตัดสินใจทางนโยบาย เหตุเพราะผู้ก าหนดนโยบายนั้น โดยทั่วไปแล้ว
การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับคุณค่าและความเชื่อ ผู้ก าหนดนนโยบายจะใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการตัดสิน
ส่วนความเชื่ออาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการใส่ข้อมูลใหม่ ดังนั้น ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้และการให้มุมมองก็อาจ
เปลี่ยนความคิดของผู้มีอ านาจตัดสินใจ อาจกล่าวได้ว่าการตัดสินใจคือการใช้วิจารณญาณ ความเชื่อและ
ค่านิยมของผู้ก าหนดนโยบายมักพบถูกน ามาใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบาย (Kettl & Fesler, 2009;
Winterfeldt, 2013; Emery et al., 2015)
20