Page 41 - kpiebook65021
P. 41

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              ที่พลเมืองสามารถใช้สิทธิการมีส่วนร่วมและใช้เสียงของตนเอง เพื่อให้ผู้มีอ านาจหน้าที่ (authority) ได้ยิน และ
              ยอมรับ สามารถน านโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งนับเป็นการแสดงออกถึงอ านาจของพลเมือง

                     ท่ามกลางกระแสการพัฒนาที่รวดเร็วและรัฐต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานน าไป

              ปฏิบัติอาจพบข้อจ ากัดในการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ดังเช่น การพัฒนานโยบายในระดับ
              ท้องถิ่นของยูเครน Chaltseva and Neprytska พบความอ่อนแอของสถาบันท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ

              เพราะยังขาดความพร้อมในการในการสร้างเงื่อนไขในการรวมภาคประชาสังคมเข้าไปร่วมสนทนากันใน
              กระบวนการบริหารปกครอง รวมทั้งยังขาดกลไกเพื่อส่งเสริมต่อความเป็นหุ้นส่วน เช่น ความคิดริเริ่มสาธารณะ
              (Public initiative) สัญญาทางสังคม (Social contract) การมีส่วนร่วมทางตรง (Direct participation)

              การออกแบบทางสังคม (Social design) ฯลฯ ทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือปฏิรูประบบกระจายอ านาจทั้ง
              ระดับท้องถิ่นและภูมิภาค จะเป็นรากฐานความเข้าใจเรื่องของความเป็นเจ้าของระหว่างรัฐและประชาชน

              (Chaltseva and Neprytska, 2020, pp.139-140) อย่างไรก็ดี การพัฒนานโยบายโดยการมีส่วนร่วมโดยตรง
              ของพลเมืองมีข้อเสียอยู่บ้าง ได้แก่ การต้องใช้ระยะเวลามากที่จะให้พลเมืองมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ขณะที่

              การตัดสินใจและด าเนินตามนโยบายต้องการความรวดเร็ว การมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนการพัฒนา
              นโยบายยังอาจน าไปสู่การตัดสินใจที่แย่ก็ได้หากกระบวนการได้รับอิทธิพลจากกลุ่มตรงข้ามที่ขัดแย้งกัน และมี

              ค่าใช้จ่ายสูง (Karkin, 2011, p.17)


              2.2 ควำมเข้มแข็งของภำคประชำชนในกำรใช้สิทธิและมีส่วนร่วมพัฒนำข้อเสนอนโยบำย


                     ดังที่กล่าวไปแล้วว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ก าหนดให้สิทธิแก่ประชาชน ในการร่วม
              เสนอทิศทางการพัฒนาหรือนโยบายได้ แต่งานวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีความสนใจว่า ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นได้
              ส่งผลให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งต่อการใช้สิทธิและมีส่วนร่วมมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร ดังนั้น จึงจ าเป็นต้อง

              ศึกษาถึงความหมายของความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการใช้สิทธิเพื่อมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย

                     นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2553) กล่าวว่า “ประชาชน” กับ “พลเมือง” เป็นค าที่ต่างกัน
              เพราะหากกล่าวถึงประชาชาชนก็คือคนที่ไร้สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ส่วนพลเมืองจะมีสิทธิเสรีภาพ มี

              ความรับผิดชอบ และมีความเสียสละต่อสังคมส่วนร่วมด้วย ในท านองเดียวกัน พลเมืองยังมีหน้าที่ตามกฎหมาย
              เช่นว่า มีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ ฯลฯ หากไม่ได้ท าตามหน้าที่ที่กฎหมายก าหนดไว้

              อย่างครบถ้วนก็ถือว่าไม่ใช่พลเมือง

                     นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ ยังกล่าวต่ออีกว่าหากจะเริ่มต้นว่าประชาชนมีความเป็นพลเมืองหรือยัง
              อาจเริ่มจากการถามว่ามองหัวหน้างานหรือมองแกนน าต่าง ๆ อย่างไร หากยังมีความคิดว่า คนอื่นนั้นอยู่สูงกว่า

              เรา ก็จะท าให้ประชาชนนั้นรอคอยแต่ความช่วยเหลือและมองหาแต่คนจะมาเป็นตัวแทนช่วยอยู่เสมอ

                     เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559) ให้มุมมองว่า ภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อประชาชน
              เป็น "พลเมือง” เมื่อศึกษาต่อถึงค าว่าพลเมืองก็มีผู้บ่งชี้ถึงลักษณะของพลเมืองไว้เช่นกัน โดยเกรียงศักดิ์

              เจริญวงศ์ศักดิ์ ก็ได้กล่าวว่า พลเมือง คือผู้ที่มีจิตส านึกร่วมในการเป็นเจ้าของประเทศ เป็นผู้ส านึกในสิทธิ






                                                          16
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46