Page 37 - kpiebook65021
P. 37

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              มาตรา 253 ในการด าเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เปิดเผยข้อมูลและรายงานผลให้ประชาชน
              ทราบ และมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ในเรื่องของการเมืองการปกครอง การบังคับใช้

              กฎหมาย การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ ล้วนส่งผลกระทบต่อการด ารงชีวิตของประชาชนทั้งสิ้น

                     อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติถึงสิทธิ
              ในการมีส่วนร่วมของประชาชน หากแต่ยังคงมีความท้าทายในทางปฏิบัติ สิทธิดังกล่าวอาจจะมีการน าไป

              ปฏิบัติในการแสดงความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่อาจจะยังไม่ครอบคลุมถึง
              การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายจากภาคประชาชนได้อย่างเห็นผล
              เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ จึงจ าเป็นต้องหาแนวทางหรือวิธีการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน

              และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

                     หน้าที่หลักของนโยบายสาธารณะคือการก าหนดรูปแบบสังคมหรือก าหนดอนาคตเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
              เมื่อก าหนดนโยบายแล้วจะถูกน าไปด าเนินการต่อโดยหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ การพัฒนานโยบายไปจนถึง

              การน านโยบายไปปฏิบัติยังถูกกระทบได้จากปัจจัยภายในและภายนอก (Kaur, 2018, p.1) ส าหรับการพัฒนา
              นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Public Policy) เป็นแนวคิดที่แตกต่างจากแนวคิดการมีส่วน

              ร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (participation in public policy) หมายถึง การมีส่วนร่วมในนโยบาย
              ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสาธารณะในกระบวนการนโยบาย โดยรัฐเป็นผู้ก าหนด เพื่อสร้าง

              ความชอบธรรมในกระบวนการพัฒนานโยบายจึงให้สาธารณะ (public) หรือประชาชน (people) เข้ามามีส่วนร่วม
              ในการปรึกษาหารือ ให้ข้อมูล ให้ความเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน นโยบายสาธารณะแบบ

              มีส่วนร่วมเป็นการมีส่วนร่วมของพลเมืองในฐานะเจ้าของนโยบายหรือหุ้นส่วนทางนโยบาย ตั้งแต่ขั้นตอนใน
              การเริ่มก่อตัวนโยบาย (policy formation) (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563,
              น.39) การพัฒนานโยบายสาธารณะต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นสาธารณะ รัฐที่เป็นประชาธิปไตย

              ไม่อาจก าหนดนโยบายที่สวนทางกับความต้องการหรือความคิดเห็นของสาธารณะได้ และการมีส่วนร่วมจะช่วยให้
              นโยบายที่ก าหนดร่วมกันถูกน าไปปฏิบัติได้อย่างดี  (Kaur, 2018, p.3)


                     การให้ความส าคัญกับพลเมืองในการพัฒนานโยบายสาธารณะนี้สอดคล้องกับ Karkin ที่กล่าวว่ามี
              ความจ าเป็นอย่างมากที่ต้องตรวจสอบความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารสาธารณะในแบบสอง

              ทาง ทั้งในเชิงสิทธิมนุษยชน และเชิงสิทธิพลเมือง ในเชิงสิทธิมนุษยชนแล้วถือว่าแค่ความเป็นมนุษย์ก็เพียงพอ
              แล้วต่อความต้องการให้เกิดการบริการสาธารณะ เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐจะปฏิเสธการบริการสาธารณะต่อ
              มนุษย์ เช่น บริการทางสุขภาพ การคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัย โดยไม่มีข้อจ ากัดทางเชื้อชาติ ความต้องการ

              ชนิดนี้ เกี่ยวข้องอย่างสูงกับความเป็นมนุษย์และหลักการความฉุกเฉิน (Principle of emergency)
              ที่ครอบคลุมด้วยหลักคิดสิทธิมนุษยชน ขณะที่ในเชิงสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิในการได้รับการส่งเสริมบริการ

              สาธารณะที่มีความหมายพื้นฐานรับรองต่อความเป็นพลเมืองของรัฐ กรณีนี้ถือว่าถูกรับรองด้วยหลักการของ
              ความเท่าเทียมมากกว่าหลักการความฉุกเฉิน หลักความเท่าเทียมจึงเป็นหลักคิดที่สูงขึ้นมาซึ่งรัฐอาจต้องฝึกฝน
              ในทางปฏิบัติ ผ่านการใช้เครื่องมือทางการบริหารด้วยอ านาจที่ชอบธรรมซึ่งกระท าการโดยสถาบันต่าง ๆ ทาง

              สังคม (Karkin, 2011, pp.9-10)





                                                          12
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42