Page 39 - kpiebook65021
P. 39
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมได้ให้ความส าคัญกับ “การสร้าง
ความเกี่ยวข้องของพลเมือง (citizen involvement)” เนื่องจากความเกี่ยวข้องของพลเมืองน าไปสู่
ความสัมพันธ์แบบผูกมัดร่วมกัน (commitment) ระหว่างพลเมืองและรัฐ (Molokwane & Lukamab, 2018,
p.194 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.43) ซึ่งความสัมพันธ์
เช่นนี้จะเกิดได้ต่อเมื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอหรือปกป้องผลประโยชน์ของ
ตนเอง ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจัดท าแผนหรือจัดท านโยบายการเข้ามามีส่วนร่วม
ซึ่งจะช่วยท าให้พลเมืองเกิดความเข้าใจในกระบวนการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น (Marzuk, 2015, p.22 อ้างถึงใน
ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.43)
ดังนั้น กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจึงต้องมีการออกแบบให้เหมาะสม
เพื่อกระตุ้นให้พลเมืองสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องและสร้างความผูกพัน (engagement) หากจัดการ
กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะไม่ดีอาจมีแนวโน้มหรืออาจน าไปสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างรัฐ
และพลเมืองได้ นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นผลผลิตของกระบวนการพัฒนานโยบาย อันเกิดจาก
การเริ่มต้น โดยมีพลเมืองเป็นหุ้นส่วนร่วมกับภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ หัวใจส าคัญ
ของนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม คือ พลเมืองมี “ความผูกพัน” ในฐานะ “เจ้าของนโยบาย” จะเห็นได้ว่า
หากปราศจากความผูกพันของพลเมือง การมีส่วนร่วมก็จะไม่มีความหมาย (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์,
และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.44) ความเป็นพลเมืองถือว่ามีความส าคัญแต่บางครั้งความหมายและ
หน้าที่ของพลเมืองก็ห่างไกลจากความต้องการของพลเมือง แต่ด้วยวิกฤตความชอบธรรมและความไร้
ประสิทธิภาพทางการบริหารงานก็ท าให้พลเมืองจากเดิมอาจจะเคยเป็นผู้รับหรือผู้ถูกกระท า (Object) เปลี่ยน
มาเป็นผู้ด าเนินการหรือผู้กระท า (Subject) มากขึ้น ผ่านการตั้งค าถาม ริเริ่ม หรือก าหนดทิศทาง (Karkin,
2011, p.11)
นอกจากนี้ คุณค่าของการน ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมมาใช้เพื่อการ
ส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล โดยสามารถสรุปสาระส าคัญ ดังนี้
1) เป็นการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่มีส านึกผูกพันต่อการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นการส่งเสริมและพัฒนา
ให้พลเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันกับนโยบายสาธารณะ ภายใต้หลักการพลเมืองเป็นศูนย์กลางในการก าหนด
นโยบาย (citizen as the center of policy-makers) โดยเป็นการศึกษาการมีชีวิตสาธารณะ (public life)
และการพัฒนาความรู้สึกความเป็นพลเมือง (Holmes, 2011, p.1 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์,
และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.49)
2) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการภาครัฐ ซึ่งการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยกระตุ้น
ให้พลเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันกับกระบวนการก าหนดนโยบาย และมีความเข้าใจกระบวนการท างานของรัฐ
ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของพลเมือง อีกทั้ง ภาครัฐที่มีอ านาจหน้าที่ในการน าโยบายไปปฏิบัติก็จะมี
ความเกี่ยวข้องผูกพันกับพลเมืองมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดเป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคพลเมืองและภาครัฐ
ในกระบวนการบริหารกิจการบ้านเมือง (Sidor, 2012, p.88 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และ
14