Page 34 - kpiebook65021
P. 34

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                                                           บทที่ 2
                                                   กำรทบทวนวรรณกรรม


                        “ประชาธิปไตย” ถือเป็นระบอบการเมืองการปกครองที่ให้สิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วม จึงเป็น

                 ระบอบที่ถือได้ว่าเอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะแก่ภาคประชาชน เนื่องด้วยความ
                 เข้มแข็งของประชาชนที่จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและก าหนดนโยบาย

                 การติดตามตรวจสอบการท างานของรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยยังมีแนวโน้มจะปฏิบัติ
                 ตามความต้องการของประชาชนมากกว่าระบอบอื่น ๆ ที่มักให้ความส าคัญกับความมั่นคงและสาธารณูปโภค
                 พื้นฐานมากกว่า (คณะกรรมาธิการเสริมสร้างศักยภาพทางกฎหมายให้คนจน, 2551, น.52-53) ดังนั้น

                 การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิ และการมีส่วนร่วมแก่ภาคประชาชนภายใต้ระบอบการปกครองแบบ
                 ประชาธิปไตย จึงถือว่ามีโอกาสที่ดีกว่าระบอบการปกครองแบบอื่น

                        ประชาธิปไตยถือเป็นระบอบการปกครองที่ยึดประชาชนเป็นส าคัญ โดยหากพิจารณารากศัพท์แท้จริง

                 ของค าว่าประชาธิปไตย “Democracy” นั้น มีองค์ประกอบที่มาจากภาษากรีกคือค าว่า Demos ที่หมายถึง
                 ประชาชน และค าว่า Kartos หมายถึงการปกครอง ดังนั้น ประชาธิปไตยที่แปลแบบตรงตัว จึงหมายถึง

                 การปกครองที่อ านาจเป็นของประชาชน และเมื่อขยายความให้กว้างออกไป ประชาธิปไตยยังถือเป็นอุดมการณ์
                 และหลักการทางการเมืองการปกครองที่หลายประเทศยอมรับน าไปเป็นระบอบการบริหารปกครองประเทศ

                 เนื่องจากเป็นระบอบการปกครองที่รัฐบาลมุ่งเน้นการท างานที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนภายใต้
                 องค์ประกอบส าคัญ คือ อ านาจเป็นของประชาชน เสรีภาพ ความเสมอภาค การยึดหลักกฎหมายในการบริหาร

                 ประเทศ และการยึดเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินใจโดยเคารพเสียงส่วนน้อย (ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด,
                              1
                 2557, น.14-21)
                        การมีส่วนร่วมซึ่งเป็นหนึ่งในหลายองค์ประกอบของค่านิยมประชาธิปไตย  ต้องการปัจจัยสนับสนุน
                                                                                      2
                 หลักหลายประการ เช่น การให้และรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน ความสามารถหรือทรัพยากร
                 ที่สนับสนุนต่อการมีส่วนร่วม องค์กรเพื่อการมีส่วนร่วม และวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ จะต้องมีกลไก
                 หนุนเสริมเพื่อให้เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วม ได้แก่ ระบบสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิ

                 ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเลือกตั้ง พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน และการศึกษาเพื่อ
                 สร้างความเป็นพลเมือง (เดวิด บีแทม และคณะ, 2013, น.28-34) จากแนวคิดดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า





                 1  ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด ได้ท าการศึกษาค่านิยม วัฒนธรรม และอุณหภูมิประชาธิปไตยไทย (2557) โดย
                 ทบทวนความหมายของประชาธิปไตยจากนักวิชาการและผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิเช่น Robert A. Dahl จรูญ สุภาพ
                 กระมล ทองธรรมชาติ Etzioni-Halevy Tianjian Shi & Jie Lu อับบราฮัม ลินคอล์น
                  เดวิด บีแทม และคณะ (2013) ได้จัดท าคู่มือการประเมินประชาธิปไตยขึ้นในปี ค.ศ.2008 ในคู่มือนั้นกล่าวถึงกรอบแนวคิดใน
                 2
                 การประเมินและค่านิยมประชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ ด้วยเหตุที่ว่าองค์ประกอบค่านิยมของประชาธิปไตยในคู่มือนี้ ได้แก่
                 การมีส่วนร่วม การมอบอ านาจ การเป็นตัวแทน ส านึกรับผิดชอบ ความโปร่งใส การตอบสนอง ความเป็นน้ าหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่ง
                 ในองค์ประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาในบทนี้คือองค์ประกอบเรื่องการมีส่วนร่วม




                                                             9
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39