Page 31 - kpiebook65021
P. 31
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
1.5 ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก
การทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎี และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เน้นเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากตัวแทนภาคประชาชน
1.5.1 กลุ่มเป้ำหมำยในกำรเก็บข้อมูล
ประชากรในการศึกษาเป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคมในจังหวัดจันทบุรี จ านวนและการ
ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ กระจายตามต าบล 76 ต าบล ต าบลละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 760 คน คัดเลือก
แบบโควตา (Quota Sampling) ตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคม ดังนี้
1) กลุ่มผู้น าชุมชน (ปราชญ์ชาวบ้าน อสม. ผู้น าศาสนา)
2) กลุ่มผู้น าท้องถิ่น (สมาชิก อบต. สมาชิกเทศบาล ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องที่)
3) กลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่น และกลุ่มภาคประชาสังคมในท้องถิ่น (สมาชิกสภาองค์กรชุมชน สมาชิกสภา
เกษตร กลุ่ม NGOs)
4) กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มประมงชายฝั่ง
5) กลุ่มข้าราชการในพื้นที่
6) กลุ่มธุรกิจ พาณิชย์ และการท่องเที่ยว
7) กลุ่มคนรุ่นใหม่ (ผู้มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ก าลังศึกษาอยู่ ยังไม่ได้ประกอบอาชีพหลักตามข้อที่ 1-6)
8) กลุ่มอื่น ๆ
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บข้อมูลโดยการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด รวมทั้ง
การประชุมเตรียมการและถอดบทเรียนกับทีมนักวิจัยในพื้นที่ด้วย
1.5.2. เครื่องมือและวิธีกำรเก็บข้อมูล
ข้อมูลทุติยภูมิ
สืบค้นได้จากเว็บไซต์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรี
เพื่อทราบข้อมูลของบริบทพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรี ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอ าเภอ ทั้ง 10 อ าเภอของ
จังหวัดจันทบุรี
6