Page 27 - kpiebook65021
P. 27

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              ในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติตลอดจน (4) จัดให้มีระบบสวัสดิการชุมชน สิทธิของบุคคล
              และชุมชนตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง สิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการ
              ด าเนินการดังกล่าวด้วย


                     นอกจากสิทธิของประชาชน รัฐมีหน้าที่ต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอีกหลายเรื่อง
              เช่น ตามมาตรา 57 (1) รัฐต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม

              และจารีตประเพณีอันดีงาม จัดให้มีพื้นที่สาธารณะส าหรับการท ากิจกรรม โดยต้องส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน
              และองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย (2) รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บ ารุงรักษา ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ
              สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยต้องให้ประชาชน และชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมด าเนินการ
              และได้รับประโยชน์ด้วย มาตรา 78 รัฐต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดท า
              บริการสาธารณะ การตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ การต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และ

              การอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชน มาตรา 253 ในการด าเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้
              เปิดเผยข้อมูลและรายงานผลให้ประชาชนทราบ และมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย
              (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)

                     อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติถึงสิทธิในการ
              มีส่วนร่วมของประชาชน หากแต่ยังคงมีความท้าทายในทางปฏิบัติ สิทธิดังกล่าวอาจจะมีการน าไปปฏิบัติใน
              การแสดงความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่อาจจะยังไม่ครอบคลุมถึงการเสริมสร้างสิทธิ

              และการมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายจากภาคประชาชนได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ส านักวิจัยและพัฒนา
              สถาบันพระปกเกล้า ได้ตระหนักถึงความจ าเป็นในการศึกษาวิจัยเพื่อ พัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างความ

              เข้มแข็งในการใช้สิทธิและมีส่วนร่วม ระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐ และองค์กรวิชาการ

                     ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่เป้าหมายในการด าเนินโครงการ เนื่องจากจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่

              ใกล้เคียงในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
              ซึ่งโครงการนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดในภาคตะวันออก โดยจังหวัด
              จันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาสูงสุดเท่ากับจังหวัดใกล้เคียงอย่างจังหวัดชลบุรี

              และระยอง ภาคประชาชนจึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาข้อเสนอทางนโยบายและความต้องการในอนาคต เพราะ
              แม้จะยังไม่ได้พัฒนาถึงขีดสุด แต่การเป็นพื้นที่ใกล้เคียงในโครงการ EEC ย่อมส่งผลกระทบจากการพัฒนาทั้ง

              ทางบวกและลบ

                     จากสถิติรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2545-2562 กับสถิติสัดส่วนคนจน

              ทั่วประเทศย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 – 2563 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดจันทบุรีมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของ
              ประเทศ ดังภาพ 1.1 และ 1.2 กับตาราง 1.1 และ 1.2 (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2019) จึงเป็นจังหวัดที่มีความ

              เหมาะสมในเชิงระดับการพัฒนาที่ไม่สูงหรือต่ าเกินไปจากค่าเฉลี่ย เพื่อเป็นจังหวัดตัวแบบในการขยายผลยัง
              พื้นที่อื่น











                                                           2
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32