Page 26 - kpiebook65021
P. 26
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
นโยบายสาธารณะ เป็นความสามารถของรัฐในฐานะผู้ด าเนินการให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคม
ที่มีประสิทธิภาพ โดยควบรวมภาคประชาสังคมและพลเมืองเพื่อความเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริง (Chaltseva and
Neprytska, 2020, p.138) หากแต่การมีสิทธิและความรับผิดชอบของพลเมืองนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการมีส่วนร่วม
ในนโยบายสาธารณะ ในกรอบของการพัฒนานโยบายสาธารณะนั้นมีความจ าเป็นอย่างมากที่รัฐจะต้องสร้าง
วิธีการ เพื่อท าให้การมีส่วนร่วมทางตรงของพลเมืองเกิดขึ้นหรือมีความเป็นไปได้ในการพัฒนานโยบาย
สาธารณะ (Karkin, 2011, p.9)
ด้วยหน้าที่หลักของนโยบายสาธารณะคือการก าหนดรูปแบบสังคมหรือก าหนดอนาคตเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
เมื่อก าหนดนโยบายแล้วจะถูกน าไปด าเนินการต่อโดยหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ (Kaur, 2018, p.1) ส าหรับการ
พัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Public Policy) แม้รัฐเป็นผู้ก าหนดนโยบาย แต่เพื่อ
สร้างความชอบธรรมในกระบวนการพัฒนานโยบายจึงมีการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ
ให้ความเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจในฐานะเจ้าของนโยบายหรือหุ้นส่วนทางนโยบาย ตั้งแต่ขั้นตอนในการ
เริ่มก่อตัวนโยบาย (policy formation) (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.39)
การพัฒนานโยบายสาธารณะจึงต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ รัฐที่เป็นประชาธิปไตยจึง
ไม่อาจก าหนดนโยบายที่สวนทางกับความความคิดเห็นของสาธารณะได้ (Kaur, 2018, p.3)
การให้ความส าคัญกับพลเมืองในการพัฒนานโยบายสาธารณะนี้สอดคล้องกับ Karkin ที่กล่าวว่าการ
สนองความต้องการประชาชนอาจพิจารณาการตอบสนองทั้งเชิงสิทธิมนุษยชน และเชิงสิทธิพลเมือง ในเชิง
สิทธิมนุษยชนจะเป็นเรื่องพื้นฐาน เช่น บริการทางสุขภาพ การคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัย โดยไม่มีข้อจ ากัด
ทางเชื้อชาติ ขณะที่การตอบสนองในเชิงสิทธิพลเมืองถูกรับรองด้วยหลักการของความเท่าเทียม ซึ่งมีความยากกว่า
การตอบสนองในแบบแรกและรัฐอาจต้องฝึกฝนโดยใช้เครื่องมือทางการบริหารด้วยความชอบธรรม (Karkin,
2011, pp.9-10) อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม พลเมืองถือว่าอยู่ในฐานะ
เจ้าของนโยบาย (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.44) พลเมืองแต่เดิมอาจ
เคยมีบทบาทเป็นผู้รับหรือผู้ถูกกระท า (Object) ได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ด าเนินการหรือผู้กระท า (Subject) มากขึ้น
ผ่านการตั้งค าถาม ริเริ่ม หรือก าหนดทิศทาง (Karkin, 2011, p.11)
ส าหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 บุคคลและ
ชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีต
ประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (2) จัดการ บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (3) เข้าชื่อ
กันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ด าเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชน หรืองดเว้น
การด าเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการ
พิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
1