Page 29 - kpiebook65021
P. 29
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ตำรำง 1.2 สัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) เฉลี่ยทั่วประเทศ และจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2554 - 2563
ปี 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563
ทั่วประเทศ 13.22 12.64 10.94 10.53 7.21 8.61 7.87 9.85 6.24 6.84
จันทบุรี 11.85 13.89 13.00 8.66 3.69 3.69 6.12 5.43 8.85 6.54
หมายเหตุ: หน่วยเป็นร้อยละ, สัดส่วนคนจน หมายถึง ร้อยละของประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อ
เดือน ต่ ากว่าเส้นความยากจน
นอกจากนี้ ตามแผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561 - 2565 แม้ว่า จังหวัดจันทบุรีจะมี
ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ อัญมณีที่เลื่องชื่อ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวส าคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปี
หากแต่ในพื้นที่จังหวัดจันทุบรียังคงประสบปัญหาเช่นกัน ทั้งนี้ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและแผนพัฒนา
อ าเภอ (พ.ศ. 2561 - 2565) ได้สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ โดยอ าเภอได้น ากรอบ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด (Top down) มาเป็นกรอบการพัฒนาในระดับอ าเภอ และประมวลปัญหา
และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (Bottom-up) ผ่านการประสานข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผน
ชุมชน หรือแผนชุมชนระดับต าบล รวมทั้งแผนงาน/โครงการจากภาคส่วนต่าง ๆ
โดยได้สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการในภาพรวมเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัญหาด้าน
การเกษตร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการซื้อขาย การผูกขาดทางด้านการตลาด การผลิตของพืชเศรษฐกิจ ผลไม้เลื่องชื่อ
ของจังหวัด อาทิ ทุเรียน ล าไย ยางพารา ด้านการผลิต ขาดแหล่งน้ าท าให้คุณภาพการผลิตปัญหาภัยแล้ง
แหล่งกักเก็บน้ าไม่เพียงพอท าให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ าอุปโภคบริโภค รวมทั้งพื้นที่การเกษตรได้รับความ
เสียหายในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูกาลผลไม้ ปัญหาคุณภาพ
ผลผลิต 2) ปัญหาช้างป่า ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างป่าลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ช้างป่าออกหากินนอก
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ชิดเขตพื้นที่ป่า รวมถึงพื้นที่ชุมชน จึงกลายเป็น
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรในพื้นที่กับช้างป่าที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งการที่ช้างป่าเข้ามา
ท าลายพืชผลการเกษตร หรือท าร้ายราษฎรในพื้นที่ 3) ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จากอุบัติเหตุทางถนนและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี เนื่องด้วยสภาพ
เศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว สภาพการเดินทางที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น และ 4) ปัญหาการกัดเซาะ
ชายฝั่ง จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่บนฝั่งและเกาะต่าง ๆ จากผลการส ารวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พบว่า มีแนวชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง (ส านักงานจังหวัดจันทบุรี, น.51-75; น.86-88)
ด้วยประเด็นการเป็นพื้นที่ในภาคตะวันออกที่มีแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจสูงในอนาคต ขณะที่สภาพ
ปัญหาดังกล่าวสะท้อนความต้องการของภาคประชาชนที่หลากหลาย จึงเป็นความท้าทายต่อการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งทางด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และกฎหมายแก่ประชาชน อันจะน าไปสู่การพัฒนาเป็นตัวแบบ
เพื่อการสร้างข้อเสนอแนะ และนโยบายจากภาคประชาชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ตามเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีพื้นที่จังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย
10 อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอเมืองจันทบุรี อ าเภอมะขาม อ าเภอสอยดาว อ าเภอแหลมสิงห์ อ าเภอโป่งน้ าร้อน
อ าเภอนายายอาม อ าเภอท่าใหม่ อ าเภอเขาคิชฌกูฏ อ าเภอขลุง และอ าเภอแก่งหางแมว เป็นพื้นที่ที่มีประเด็น
4