Page 32 - kpiebook65021
P. 32

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                        ข้อมูลปฐมภูมิ

                        ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยแบบสัมภาษณ์เป็นประเด็นค าถามปลายเปิดสอบถามความคิด
                 เห็นจากกลุ่มตัวอย่างในประเด็นภาพอดีต ปัจจุบัน อนาคต ความห่วงกังวล และความสามารถในการมีส่วนร่วม

                 ผ่านการพิจารณาประเด็นสัมภาษณ์จากที่คณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์

                        ส่วนแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบและมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อวัดระดับความรู้ ทัศนคติ และ

                 การแสดงออกด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม น าไปตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
                 โดยปรึกษาและคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์พิจารณาเนื้อหาแบบสอบถาม และทดสอบความเชื่อถือได้

                 (Reliability) กับกลุ่มทดลองจ านวน 30 ท่านก่อนน าไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายหลัก

                        การวิเคราะห์และน าเสนอผล


                        ข้อมูลทุติยภูมิ แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และน าเสนอใน
                 รูปแบบการบรรยาย

                        ข้อมูลปฐมภูมิ จากแบบสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา แล้วน ามาจัดกลุ่มตามประเด็นส าคัญ น าเสนอ

                 ให้เห็นข้อมูลในระดับจังหวัด อ าเภอ และจ าแนกตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์เป็นความถี่ และร้อยละ น าเสนอ
                 ในรูปแบบของการบรรยาย และตาราง ส่วนแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าออกมาเป็นความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

                 น าเสนอในรูปแบบการบรรยาย และตารางเช่นกัน


                 1.6 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ


                        1. ตัวแทนภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรีมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิและมีส่วนร่วมเสนอนโยบายและทิศ
                 ทางการพัฒนาจังหวัดจันทบุรี


                        2. ตัวแทนภาคประชาชนและส่วนราชการในจังหวัดจันทบุรีมีการขยายผลน าตัวแบบไปประยุกต์ใช้






























                                                             7
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37