Page 35 - kpiebook65021
P. 35
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
หากไม่มีกลไกการใช้สิทธิที่เอื้อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ย่อมหมายถึงว่าความเข้มแข็งของประชาชนนั้นจะ
ถูกลดทอนและไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากยังขาดการยอมรับด้านสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วม
สาระส าคัญของเนื้อหาในบทนี้ เน้นหนักไปที่แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพราะผู้เขียนต้องการให้
ผู้อ่านได้ร่วมคิดวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดตั้งต้นของการน าเสนอในแต่ละกรณีศึกษา ซึ่งทุกกรณีศึกษา
ที่น าเสนอในเนื้อหาบทต่อ ๆ ไปนี้ ล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดเดียวกัน ได้แก่ 1) สิทธิและ
การมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ 2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการใช้สิทธิเพื่อมีส่วนร่วมในการ
เสนอนโยบาย 3) ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
2.1 สิทธิและกำรมีส่วนร่วมในนโยบำยสำธำรณะ
นโยบายรัฐได้รับอิทธิพลโดยตรงจากระบบบริหารปกครอง (Governance) ซึ่งก็คือความสามารถของ
รัฐที่จะเป็นผู้ด าเนินการที่มีประสิทธิภาพในฝั่งของชนชั้นน าเพื่อจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจ
สังคมรวมทั้งจากภาคประชาสังคมด้วย เพื่อที่จะเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริง (Chaltseva and Neprytska, 2020,
p.138) หากแต่สิทธิและความรับผิดชอบของพลเมืองนั้นอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของสภาพแวดล้อม
ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ ในกรอบของการพัฒนานโยบายสาธารณะนั้นมีความจ าเป็นอย่างมาก
ที่รัฐจะต้องสร้างวิธีการใหม่ ๆ หรือท่าทีที่การมีส่วนร่วมของพลเมืองจะเกิดขึ้น เพื่อท าให้การมีส่วนร่วมทางตรง
ของพลเมืองเกิดขึ้นหรือมีความเป็นไปได้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะ (Karkin, 2011, p.9)
ในยูเครน ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารปกครอง เช่น การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
(New Public Management) ธรรมาภิบาล (Good governance) การบริหารปกครองแบบร่วมแรงร่วมใจ
(Collaborative governance) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ความเป็นหุ้นส่วนรัฐบาลแบบเปิด
(Open Government Partnership) ฯลฯ แนวคิดเหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปแบบการด าเนินนโยบายสาธารณะใน
ยูเครนจากที่เป็นการพูดคุยจากฝั่งรัฐฝ่ายเดียว (Monologue) มาเป็นแบบสนทนา (Dialogue) ซึ่งกระบวนการ
เหล่านี้พบกับความยุ่งยากในการด าเนินงานที่ระดับประเทศ แสดงให้เห็นความล่าช้าและการปฏิรูป
กระบวนการบริหารงานรัฐที่ยังไร้ประสิทธิภาพ (Chaltseva and Neprytska, 2020, p.138) หรือในประเทศ
บราซิล ได้มีความพยายามพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนานโยบายสาธารณะในรูปแบบของ
สภานโยบาย (Policy councils) เพื่อเป็นพื้นที่ปรึกษาหารือทางนโยบายและยังเป็นพื้นที่ให้การศึกษาแก่
ประชาชน เป็นพื้นที่เปิดให้มีการสนทนาระหว่างประชาชน รัฐบาล และสังคมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม (Lima,
2019, p.1)
ในประเทศไทย สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะถูกบัญญัติไว้ในกฎหมาย
สูงสุดของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า บุคคล
และชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีต
ประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (2) จัดการ บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (3) เข้าชื่อ
กันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ด าเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชน หรืองดเว้น
10