Page 38 - kpiebook65021
P. 38
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ส าหรับกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ (public policy development) ห ม ายถึง
การด าเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวนโยบาย ตั้งแต่ขั้นแสวงหาหุ้นส่วนการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม การก าหนด
ประเด็น การก าหนดเป้าหมายของนโยบาย การก าหนดทางเลือก แนวทางการด าเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
จัดท าข้อเสนอทางนโยบาย ตลอดจนการผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามผล ทั้งนี้ การพัฒนานโยบาย
สาธารณะแบบมีส่วนร่วมสามารถท าได้ 2 แบบ (ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก,
2563, น.44) ได้แก่
1) การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม “แบบบนลงล่าง (top-down)” เป็นการด าเนินการ
โดยภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ริเริ่มจัดท านโยบาย โดยเปิดพื้นที่แบบเชิญชวน (invited space)
ให้กับภาคพลเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ มาร่วมเป็นหุ้นส่วน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ
เชิญชวน (invited participation)
2) การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม “แบบล่างขึ้นบน (bottom-up)” เป็นการด าเนินการ
โดยภาคพลเมือง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ด้วยการเปิดพื้นที่การใช้สิทธิ (claimed space) และ
จัดกระบวนการมีส่วนร่วมที่เรียกว่า การมีส่วนร่วมแบบมีชีวิตชีวา (organic participation) หรือการมี
ส่วนร่วมแบบชักชวน (induced participation) อย่างไรก็ตาม หลายกรณีมีการเริ่มต้นด าเนินการการพัฒนา
นโยบายโดยองค์กรภายนอก (external bodies) เป็นผู้เสนอให้มีการจัดท านโยบายสาธารณะร่วมกัน
ระหว่างภาคพลเมืองและภาครัฐ
ส าหรับกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมมีกรอบการท างาน (framework)
ที่เข้มข้นและกว้างกว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการหรือแผนงาน เนื่องจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
โครงการเป็นการด าเนินงานตามแผนงานของรัฐ ซึ่งมีขอบเขตการมีส่วนร่วมอยู่ที่ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร
การปรึกษาหารือ การร่วมตัดสินใจ และการเสริมสร้างพลัง เพื่อถ่ายโอนการควบคุมการตัดสินใจและทรัพยากร
ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ขณะเดียวกัน การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมี
ส่วนร่วมจะเสริมสร้างพลังให้พลเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ สามารถด าเนินการ
ในทุกส่วนของวงจรกระบวนการทางนโยบาย (policy process) ประกอบด้วย 1) การก าหนดนโยบาย
2) การน าไปปฏิบัติ และ 3) การติดตามและประเมินผล (Karl, 2002 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์,
และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.45)
ข้อคิดเห็นนี้สอดคล้องกับ Karkin อีกเช่นกันว่าการมีส่วนร่วมในความหมายทางการบริหารนั้น
หมายถึง ความเป็นตัวแทนของความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมต่อการบริการสาธารณะ ในขั้นต่าง ๆ ของนโยบาย
ตั้งแต่การพัฒนานโยบาย (Policy formulation) และการน านโยบายไปปฏิบัติ การมีส่วนร่วมยังหมายถึง
เครื่องมือและท่าทีของการแทรกแซงทางพลเมือง (Citizen intervention) ต่อโครงสร้างการเมืองปกติ เช่น
การโหวต ประชาพิจารณ์ การร้องเรียน ฯลฯ แต่การมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen engagement) แบบ
ทางตรงต่อกระบวนการทางการเมือง มักไม่ค่อยได้รับการต้อนรับจากระบบบริหารราชการแบบดั้งเดิม
(Karkin, 2011, p.13)
13