Page 42 - kpiebook65021
P. 42

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                 หน้าที่ และมีความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ พลเมืองหรือประชาชน
                 ที่เข้มแข็งในมุมมองนี้จึงเป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ไม่เพิกเฉยต่อเมื่อมีเรื่อง

                 ที่เป็นประเด็นสาธารณะ และไม่รอที่จะรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ เท่านั้น แต่เป็นคน
                 ที่พร้อมที่ช่วยต้องการที่จะมีส่วนร่วมรับผิดชอบและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ เมื่อศึกษางานวิจัย
                 ส่วนใหญ่แล้ว กล่าวถึงความเข้มแข็งของภาคประชาชนในความหมายของการรวมตัวกันเพื่อด าเนินกิจกรรม

                 สาธารณะ ซึ่งการจะไปสู่ความเข้มแข็งได้นั้นย่อมประกอบด้วยหลายปัจจัย ดังตัวอย่างการศึกษาของคุณากร
                 กรสิงห์ (2558) ที่ศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อ านาจขององค์กร

                 ปกครองส่วนท้องถิ่น และพบว่า ปัจจัยในการน าไปสู่ความเป็นชุมชนหรือประชาชนที่เข้มแข็งได้ คือ ปัจจัยด้าน
                 ผู้น าภาคประชาชนที่ถือเป็นปัจจัยส าคัญที่สุด ตามมาด้ายปัจจัยด้านกฎระเบียบและข้อบังคับที่เอื้อให้เกิด

                 การตรวจสอบ การตั้งกลุ่มหรือมีองค์กรภาคประชาชน และปัจจัยด้านความเป็นเจ้าของและมีจิตสาธารณะ
                 หากแต่งานวิจัยชิ้นนี้ยังเป็นเพียงการน าเสนอปัจจัย ยังไม่ได้บ่งบอกว่าอะไรคือความเข้มแข็งของภาคประชาชน

                 เพื่อใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมเสนอนโยบาย

                        งานวิจัยของโกวิทย์ พวงงาม (2557) มีการศึกษาความเข้มแข็งของภาคประชาชนเช่นกัน โดยศึกษา
                 ประชาชนในแบบที่เป็นกลไกรวมกลุ่ม เพื่อวัดความเข้มแข็งการเมืองของภาคพลเมืองในกลไกคณะท างาน

                 เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด ที่ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ประเด็น ได้แก่ ได้แก่ เรื่องการสื่อสารและร่วมมือ
                 การร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก การมีส่วนร่วมของสมาชิกคณะท างาน ฯ การท ากิจกรรมตามภารกิจ
                 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การทบทวนและประเมินผลการท างานของคณะท างาน และการจัดท ายุทธศาสตร์

                 และแผนปฏิบัติการ

                        ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2557) ศึกษาคุณสมบัติของพลเมืองไทย ที่แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม ได้แก่
                 พลเมืองที่ให้ความส าคัญกับวัฒนธรรม (เช่น ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเสียสละเวลาท างานส่วนรวม ปฏิบัติตาม

                 กฎหมาย ฯลฯ) พลเมืองที่ให้ความส าคัญกับอิสรภาพและความก้าวหน้า (เช่น สามารถวิเคราะห์และแสดง
                 ความเห็นทางการเมือง มีความรู้ด้านการเมือง เป็นสมาชิกกลุ่ม ฯลฯ)


                        ทนงศักดิ์ พลอาษา และประเสริฐ ประสมรักษ์ (2562) ได้ท าการศึกษาความเข้มแข็งของการสร้างและ
                 ใช้ธรรมนูญสุขภาพ ที่ถือเป็นการพัฒนานโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งจากภาคประชาชนแต่เป็นในมิติเรื่อง

                 ของสุขภาพ โดยประชาชนเป็นผู้ประเมิน พบว่า ทนงศักดิ์ พลอาษา และประเสริฐ ประสมรักษ์ ใช้การรับรู้และ
                 ความพึงพอใจในการประเมินด้วยข้อค าถามเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเข้าร่วมกิจกรรม

                        งานวิจัยของผุสดี สระทอง และคณะ (2563) ที่มีการประเมินระดับชุมชนเข้มแข็งด้านความ

                 หลากหลาย การมีเป้าหมายร่วมกันและเป็นประโยชน์สาธารณะ การพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วมท าและ
                 รับผิดชอบ การใช้ทรัพยากรชุมชนอย่างเต็มที่ การเรียนรู้เครือข่ายและติดต่อสื่อสาร การจัดกิจกรรมสาธารณะ
                 อย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการที่ดี และด้านผู้น าการเปลี่ยนแปลง


                        ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2563) ท าการศึกษาการศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองส าหรับสังคมไทย
                 โดยแบ่งพลเมืองเป็น 4 ระดับ ระดับที่ 2 - 4 ถือว่า มีคุณลักษณะประชาชนที่เข้มแข็ง ได้แก่ พลเมืองที่ตระหนักรู้






                                                             17
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47