Page 43 - kpiebook65021
P. 43

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              (เช่น สนใจข่าวสาร เข้าใจหน้าที่และสิทธิพลเมือง เคารพสิทธิผู้อื่น) พลเมืองที่กระตือรือร้น (เช่น มีส่วนร่วม
              กิจกรรมส่วนรวมเป็นประจ า ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม) และพลเมืองที่ผูกพันต่อการมีส่วนร่วม

              (เช่น เสียสละเพื่อส่วนรวม ริเริ่มเชิญชวนผู้อื่น เป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)

                     คณะผู้วิจัย พบว่า มีข้อจ ากัดมากในการค้นหางานวิจัยที่ให้ข้อสรุปว่า ภาคประชาชนที่เข้มแข็งเป็น
              เช่นไร เพราะส่วนใหญ่แล้วเป็นการศึกษาในระดับกลุ่มหรือองค์กร และเป็นการศึกษาในบริบทของการจัดการ

              ตนเอง เช่น ชุมชนเข้มแข็งในการจัดการตนเอง เช่น งานวิจัยของผุสดี สระทอง และคณะ หรืองานวิจัยของ
              โกวิทย์ พวงงาม ที่ยังไม่ใช่การวัดระดับความเข้มแข็งของประชาชนในแบบปัจเจก ขณะที่ งานของทนงศักดิ์
              พลอาษา แม้จะศึกษาในระดับประชาชน แต่ก็ยังเป็นการศึกษาความคิดเห็นต่อนโยบายสาธารณะที่ประชาชน

              พัฒนาขึ้น คณะผู้วิจัยยังพบว่า การนิยามความเข้มแข็งของประชาชนมักถูกพบควบคู่กันกับค าว่า พลเมือง จาก
              การให้ความหมายและการน าเสนอตัวชี้วัดโดยนพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2553) ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ

              (2557) และเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559) คณะผู้วิจัย ขอสรุปว่า ประชาชนเข้มแข็งก็คือพลเมืองนั่นเอง
              เมื่อทบทวนความหมายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะผู้วิจัยสรุปลักษณะของภาคประชาชนที่เข้มแข็ง

              ด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายสาธารณะ ดังตาราง 2.1 ดังนี้


              ตำรำง 2.1 ความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายสาธารณะ

                ควำมเข้มแข็ง                    รำยละเอียด                               อ้ำงอิง
               1. สิทธิ         รู้ว่า ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเสนอ นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2553);
                                ความต้องการเพื่อจัดท านโยบาย                 ทนงศักดิ์ พลอาษา และประเสริฐ

                                                                             ประสมรักษ์ (2562); รัฐธรรมนูญ
                                                                             แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                                                                             2560


                                รู้ว่า ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ยังไม่มี  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                                การตรากฎหมายบังคับใช้ บุคคลก็สามารถใช้สิทธินั้น พุทธศักราช 2560
                                ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ


                                ตระหนักว่า ตนมีหน้าที่และมีสิทธิเสนอความ นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2553);
                                ต้องการเพื่อให้รัฐท านโยบายที่สนองความต้องการ ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2557)
                                ประชาชน


                                ตระหนักว่า ตนมีสิทธิและสามารถที่จะพัฒนาพื้นที่ นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2553)
                                ของตนเองได้

                                ติดตามว่า หน่วยงานหรือที่ใดมีเวทีนโยบายและมีผล เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559);
                                อย่างไร เพื่อจะได้รู้ข่าวสาร                 ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2563)






                                                          18
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48