Page 48 - kpiebook65021
P. 48

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                        5. เปลี่ยนความคิดเห็นสู่การตัดสินใจ ท าให้เกิดการน าความรู้ใหม่และการร่วมกันไตร่ตรองอย่าง
                 รอบคอบอันน าไปสู่การตัดสินใจ

                        เราอาจกล่าวได้ว่า การปรึกษาหารือเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยแบบหนึ่งที่ท าให้ตัวแทน

                 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามาปรึกษาหารือกันในประเด็นที่แต่ละฝ่ายสนใจหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยยึดหลักว่า
                 ต้องเป็นการปรึกษาหารือที่พร้อมเปิดกว้างและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งการปรึกษาหารืออาจ

                 ไม่จ าเป็นต้องมุ่งไปสู่การตัดสินใจให้ได้ในครั้งแรก ๆ อาจจะต้องจัดพื้นที่ปรึกษาหารือหลายครั้งในประเด็น
                 เดียวกัน เพื่อให้การตัดสินใจนั้นเป็นการตัดสินใจที่ทุกฝ่ายตกลงและยอมรับร่วมกันได้

                        หากกล่าวถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งควรถูกน าเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของการปรึกษาหารือเพื่อ

                 พัฒนานโยบายสาธารณะนั้น อาจพิจารณาเป็นระดับของนโยบาย พื้นที่ หรือประเด็นของนโยบาย เพราะผู้มี
                 ส่วนได้ส่วนเสียย่อมหลากหลายไปตามบริบทที่แตกต่าง ในเชิงองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
                 (Stakeholders) อาจเป็นกลุ่มหรือบุคคลซึ่งมีผลหรือได้รับผลจากความส าเร็จขององค์กร ซึ่งองค์กรไม่เพียงแต่

                 ดูแลผลประโยชนตัวเองแต่ยังต้องดูแลผลประโยชน์ของตัวแสดงต่าง ๆ ในองค์กรด้วย แต่ในเชิงนโยบาย
                 สาธารณะ ตัวแสดงที่ที่อยู่สูงสุดจะเป็นผู้ที่ถูกเลือกตั้งเข้ามา คือรัฐบาลผู้ท านโยบาย (Government policy

                 makers) ขณะที่ตัวแสดงอื่นมีล าดับตามความส าคัญและผลกระทบต่อกระบวนการนโยบาย ได้แก่ หน่วยงานที่
                 ท านโยบาย (Other government departments) ตามมาด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระ บริษัท องค์กรพัฒนาเอกชน

                 และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่พลเมืองและสังคมทั่วไปมักอยู่ชั้นล่างของกระบวนการพัฒนานโยบาย
                 เพราะว่ามีจ านวนตัวแสดงมาก (Karkin, 2011, pp.15-16)

                        ในมุมมองระดับประเทศ การพัฒนานโยบายสาธารณนะประกอบด้วยตัวแสดงที่หลากหลายทั้งตัว

                 แสดงที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ต่างเข้าร่วมในการพัฒนานโยบายทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม ในฝั่ง
                 ภาครัฐ เช่น คณะรัฐมนตรีมีบทบาทเป็นผู้ตัดสินใจ ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายเพื่อให้นโยบายถูกน าไปปฏิบัติ

                 หน่วยงานรัฐที่เป็นหน่วยน านโยบายไปปฏิบัติอาจท าหน้าที่ในการเชื่อมประสานการจัดท านโยบาย ฯลฯ ในตัว
                 แสดงฝั่งที่ไม่ใช่รัฐ เช่น สื่อมวลชน พรรคการเมือง กลุ่มกดดัน ความคิดเห็นสาธารณะ ฯลฯ (Kaur, 2018, p.5)

                        ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาตัวแบบในการใช้สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาข้อเสนอ

                 นโยบายระดับจังหวัด จากการทบทวนวรรณกรรมจ าเป็นที่ประชาชนต้องรับรู้และเข้าใจว่าตนมีสิทธิ
                 ในการพัฒนาข้อเสนอและความต้องการของตนต่อหน่วยงานของรัฐ การรู้สิทธินั้นอาจยังไม่เพียงพอให้

                 ประชาชนได้แสดงสิทธิ จึงจ าเป็นต้องมีพื้นที่และกระบวนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับประชาชนในแต่ละพื้นที่
                 ผ่านกระบวนการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ที่ประชาชนร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรวิชาการเพื่อพัฒนาข้อเสนอ

                 นโยบาย สุดท้ายแล้วจึงเกิดการส่งเสริมสิทธิของภาคประชาชนที่เกิดจากความร่วมมือและกระบวนการมีส่วนร่วม

                        ส าหรับกรอบแนวคิดการวิจัย โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม
                 แก่ประชาชน: กรณีศึกษา การพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรีนั้น เกิดขึ้นได้จากการมี

                 ส่วนร่วมจาก 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย 1) ภาครัฐ หน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ส านักงานจังหวัดและ
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีนโยบาย กฎหมาย ตลอดจนมุมมองและการสนับสนุนที่ส่งเสริมต่อสิทธิและ






                                                             23
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53