Page 50 - kpiebook65021
P. 50

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                                                           บทที่ 3
                                                       ระเบียบวิธีวิจัย


                        งานวิจัยครั้งนี้เน้นการพัฒนาตัวแบบการใช้สิทธิเพื่อมีส่วนร่วมเสนอนโยบายจากภาคประชาชน

                 ตัวแบบนั้นเป็นผลคาดหวังอันหนึ่งว่าจะถูกน าไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างไร มีเงื่อนไขหรือตัวแปรอะไร
                 ที่ต้องพิจารณาเมื่อจะน าไปใช้ และผลลัพธ์อีกอันหนึ่งคือข้อเสนอจากภาคประชาชนที่จะถูกน าไปพิจารณา
                 ความสอดคล้องต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศอย่างแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                 แห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานของรัฐ จะได้สามารถหยิบยกข้อเสนอ

                 จากภาคประชาชนไปใช้ได้ทันที เพราะมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่วนที่อาจจะเป็นความ
                 ต้องการที่นอกเหนือจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ ก็ถือได้ว่าจะเป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ที่หน่วยงานรัฐจะน าไป
                 ปฏิบัติหรือภาคประชาชนจะขับเคลื่อนต่อในอนาคต คณะผู้วิจัยขอน าเสนอใน 3 ส่วนส าคัญ ตาม
                 กระบวนการวิจัยที่ได้น าเสนอในกรอบแนวคิดของบทที่ 1 ได้แก่ 1) กระบวนการสร้างความเข้าใจและเครือข่าย

                 ประชาชน 2) กระบวนการรวบรวมความต้องการ และ 3) กระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง

                 3.1 กระบวนกำรสร้ำงควำมเข้ำใจและเครือข่ำย


                        ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของการเตรียมการ สร้างความเข้าใจระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสร้าง
                 เครือข่าย โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการ 1) ปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด (รองผู้ว่าราชการจังหวัด
                 จันทบุรี  และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีพร้อมทีมบริหาร ) และ 2) ประชุมทีมนักวิจัยในพื้นที่
                       4
                                                                             5
                             6
                 จ านวน 3 ท่าน   ในการโดยการปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด เป็นการหารือประเด็น ความท้า
                 ทายของภาคประชาชนในจังหวัดจันทบุรีในการร่วมจัดท านโยบาย ข้อคิดเห็นต่อการสร้างความเป็นหุ้นส่วนใน
                 งานวิจัย ข้อคิดเห็นต่อการท างานวิจัยให้เกิดผลส าเร็จ ส่วนการประชุมกับทีมนักวิจัยในพื้นที่ เป็นการประชุมใน
                 ประเด็น กรอบการด าเนินงานของการวิจัย การขอความร่วมมือเก็บแบบสัมภาษณ์ ระยะเวลาในการจัดเก็บ


                 3.2 กระบวนกำรรวบรวมควำมต้องกำร

                        3.2.1 กลุ่มเป้ำหมำยในกำรเก็บข้อมูล

                        ประชากรในการศึกษาเป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคมในจังหวัดจันทบุรี ผู้ตอบแบบ
                 สัมภาษณ์ กระจายตามต าบล 76 ต าบล ต าบลละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 760 คน ดังตารางต่อไปนี้












                 4   ณ ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี วันที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 9.00-10.00 น. โดยประมาณ
                 5   ณ ที่ท าการองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี วันที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 11.00-12.00 น. โดยประมาณ
                 6   ณ ช่องทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 - 16.00 น. และ ณ ร้าน Rock S Presso
                 วันที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 13.00-15.00 น. โดยประมาณ




                                                             25
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55