Page 47 - kpiebook65021
P. 47

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              ประชาชนได้มาพูดคุยต่อโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่นั้นโดยตรง นอกจากนี้ ในเชิงเทคนิคแล้ว
              การปรึกษาหารือนี้ ยังเป็นวิธีการเพื่อให้บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการสนทนาเพื่อให้

              เกิดการรับฟัง ความเข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่าการโต้เถียง หรือหว่านล้อมให้อีกฝ่ายหนึ่งคล้อยตาม เป้าหมาย
              ส าคัญของการปรึกษาหารือไม่ใช่เพื่อเอาชนะกัน และมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้ แต่ทุกฝ่าย
              จะรู้สึกว่า ตนเองเป็นฝ่ายชนะ


                     การปรึกษาหารือถือเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีความส าคัญเพราะท าให้ภาครัฐเพิ่มโอกาสให้กับ
              ประชาชน ท าให้ประชาชนในท้องถิ่นมีโอกาสรับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง ช่วยท าให้การเสริมสร้างพลัง
              แก่ประชาชนนั้น สอดคล้องกับธรรมเนียมหรือกฎระเบียบชุมชนและยังได้รับการยอมรับจากประชาชนอีกด้วย

              ดังมีตัวอย่างในประเทศเปรูในปี พ.ศ. 2539 - 2543  ซึ่งรัฐบาลจัดประชุมเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ 3,500
              ครั้ง ท าให้ประชาชนในชุมชนทุกกลุ่ม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนชายขอบ ชุมชนนอกระบบได้รวมกลุ่มปัญหา

              พื้นฐาน ซึ่งน าไปสู่การแก้ปัญหาที่ได้รับการยอมรับและประชาชนทั่วไปก็พึงพอใจกับความตั้งใจจริงของรัฐบาล
              อาจกล่าวได้ว่า การปรึกษาหารือถือเป็นกระบวนการที่ท าให้คนที่อยู่รวมกันในสังคมมีการตัดสินใจร่วมกัน

              ท่ามกลางความเห็นต่างซึ่งกันและกัน โดยมีหลักเบื้องต้นของการปรึกษาหารือ คือ 1) เป็นการรวมตัวแทนทุก
              ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกันโดยไม่จ าเป็นต้องให้ทุกคนมาร่วมประชุม 2) ทุกฝ่ายที่มาเข้าร่วมการสานเสวนามี

              ความเป็นเจ้าของร่วมกัน 3) ทุกคนต้องเปิดใจกว้างที่จะรับฟังผู้อื่น และ 4) ทุกฝ่ายที่มาเข้าร่วมมีความเป็น
              มนุษย์ที่พยายามเข้าใจผู้อื่นและยอมรับความแตกต่าง (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2553; วากเนอร์, 2552, น.
              17-20; 24-27)


                     ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะท าให้เกิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้ (วันชัย วัฒนศัพท์ และ
              คณะ, ม.ป.ป. น.24-30)

                     1. เปลี่ยนแปลงความคิดที่ปิดกั้น หากมีการปรึกษาหารือบ่อยครั้งจะสามารถท าให้เกิดการ

              เปลี่ยนแปลงคนให้กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันก็ท าให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด โดยมี
              การศึกษาที่ท าให้พบว่า การปรึกษาหารือท าให้เกิดการเปลี่ยนใจ ร้อยละ 53 มีความรู้สึกว่ามีความคิด

              ที่หลากหลายขึ้น ร้อยละ 71 และมีผู้ที่ได้รับฟังแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมและยอมรับความคิดนั้นถึงร้อยละ 78
              (วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ, ม.ป.ป. น.24)

                     2. สร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นสาธารณะ กระบวนการปรึกษาหารือสามารถดึงดูดให้ผู้คน

              มามีส่วนร่วม จนบุคคลเหล่านี้มีความเป็นสาธารณะในการแก้ปัญหาร่วมกัน

                     3. สร้างความรับผิดชอบของภาคประชาสังคม เนื่องจากการปรึกษาหารือท าให้เกิดการมีส่วนร่วม
              และยังเชื่อมโยงบุคคลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะ ท าให้ผู้มีส่วนร่วมเหล่านั้นมีความรู้สึกรับผิดชอบในสิ่งที่

              ได้เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น

                     4. สร้างความรู้ใหม่ การปรึกษาหารือเกิดการหลอมรวมความคิดและประสบการณ์ ซึ่งเกิดจาก
              การสร้างสรรค์โดยตัวแทนของทุกฝ่าย








                                                          22
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52