Page 46 - kpiebook65021
P. 46

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                        ปัจจัยต่อมา ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดพื้นที่นโยบาย จากการศึกษาของ De Vente
                 et al. แสดงให้เห็นว่า กระบวนการมีส่วนร่วมที่จัดขึ้นและอ านวยความสะดวกโดยหน่วยงานของรัฐมักจะได้รับ

                 การยอมรับจากรัฐบาล ผลลัพธ์จากเวทีเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะน าไปใช้ในการตัดสินใจมากกว่าการจัดเวทีโดย
                 ผู้ที่ไม่ใช่รัฐ แต่เวทีนโยบายจากภาครัฐมักให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมน้อย ได้รับความไว้วางใจจากผู้มี
                 ส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ไม่มากนัก และยังมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าเวทีที่จัดโดยภาคส่วนอื่น กล่าวคือ เวทีนโยบาย

                 สาธารณะที่อ านวยความสะดวกโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ มีแนวโน้มที่จะสะท้อนถึงความเท่าเทียมทางสังคม
                 และได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย (De Vente, 2016) ขณะเดียวกัน ก็มักจะถูกละเลย

                 ไม่ได้น าไปก าหนดเป็นนโยบายเท่ากับเวทีที่จัดโดยหน่วยงานรัฐ

                        ประการสุดท้าย ผลลัพธ์จากการจัดเวทีนโยบายจะเป็นผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเวทีนโยบาย
                 ระดับของเวทีที่กว้างกว่ามักจะได้รับการยอมรับว่า เป็นข้อมูลเชิงนโยบาย เวทีขนาดเล็กค่อนข้างได้รับ

                 ความสนใจน้อยกว่าจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง เช่น ภาคประชาสังคม แต่เวทีขนาดเล็กที่จ ากัดกลุ่ม
                 ผู้เข้าร่วมบางครั้งกลับมีแนวโน้มมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมหภาค (Lehtonen, 2010) อย่างไรก็ตาม ไม่ได้

                 หมายความว่าเวทีขนาดเล็กจะไม่มีประโยชน์ เพราะอาจใช้เป็นแนวทางส าหรับการพิจารณาของสาธารณะ
                 ในวงกว้าง เช่น ผลของการประชุมสมัชชาพลเมืองบริติชโคลัมเบียเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้ง ซึ่งใช้เป็น

                 ข้อเสนอส าหรับการลงคะแนนเพียงครั้งเดียว เป็นตัวอย่างของกระบวนการทางนโยบายขนาดเล็กที่น าไปสู่การ
                 ตัดสินใจได้ (Niemeyer, 2011)


                 2.3 ประชำธิปไตยแบบปรึกษำหำรือ (Deliberative democracy)

                        แนวคิดทางประชาธิปไตยได้รับการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงรูปแบบของประชาธิปไตย ซึ่งโดยทั่วไป

                 มี 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) ประชาธิปไตยแบบทางตรง 2) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน และ 3) ประชาธิปไตย
                 แบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งแนวคิดว่าด้วยรูปแบบประชาธิปไตยในแบบอื่น เช่น ประชาธิปไตย
                 แบบชุมปีเตอเรียน ประชาธิปไตยแบบประชานิยม ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

                 ฯลฯ (สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2552) ส าหรับ
                 ป ร ะชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ หรือ Deliberative democracy นั้น ได้รับการแปลความหมาย

                 ในภาษาไทยไว้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ประชาธิปไตยแบบสานเสวนา ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง
                 ประชาธิปไตยแบบประชาเสวนา หรือประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ซึ่งในบทนี้ จะขอใช้ค าว่า ประชาธิปไตย

                                                                                                        3
                 แบบปรึกษาหารือ เนื่องจากเป็นค าที่ถูกใช้บ่อยมากที่สุดและมีความหมายที่สอดคล้องกับรากศัพท์มากที่สุด
                        การปรึกษาหารือ (Deliberation) ถือเป็นกระบวนการตัดสินใจร่วมกันของชุมชนในประเด็นสาธารณะ
                 โดยมีการปรึกษาหารือพูดจากันในหลายรูปแบบ เช่น การท าประชาพิจารณ์ การหารือสาธารณะ และเวที

                 วิชาการ อาจกล่าวได้ว่า การปรึกษาหารือเป็นกลไกในการตัดสินใจอย่างหนึ่งของชุมชนที่เป็นช่องทางให้



                   การใช้ค าภาษาไทยเพื่อสื่อถึง deliberative democracy ในระหว่างการศึกษากรณีศึกษา 4 แห่ง ของสถาบันพระปกเกล้า
                 3
                 มีการใช้ค าว่า สานเสวนา ประชาเสวนา ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมวิชาการในแต่ละช่วง ซึ่งใน

                 ปัจจุบันพบว่า มีการใช้ค าว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือบ่อยครั้งกว่าค าอื่น



                                                             21
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51