Page 53 - kpiebook65021
P. 53
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
3. เปิดระบบในการท าแบบสัมภาษณ์ทางออนไลน์ ในกรณีไม่สามารถลงพื้นที่ได้
ทั้งนี้ ผู้วิจัยในพื้นที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ได้ทั้งสิ้น 760 ชุด
แบบสอบถาม
ส าหรับแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบและมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อวัดระดับความรู้ ทัศนคติ
และการแสดงออกด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม ประเด็นแบบสอบถามพัฒนาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังปรากฏ
ในบทที่ 2 ดังนี้
ตำรำง 3.2 ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นเรื่องสิทธิและการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะ
ตัวชี้วัด รำยละเอียด
สิทธิ รู้ว่าประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเสนอความต้องการเพื่อจัดท านโยบาย
รู้ว่าประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายบังคับใช้ บุคคลก็
สามารถใช้สิทธินั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ตระหนักว่าตนมีหน้าที่และมีสิทธิเสนอความต้องการเพื่อให้รัฐท านโยบายที่สนองความ
ต้องการประชาชน
ตระหนักว่าตนมีสิทธิและสามารถที่จะพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้
ติดตามว่าหน่วยงานหรือที่ใดมีเวทีนโยบายและมีผลอย่างไร เพื่อจะได้รู้ข่าวสาร
แสวงหาว่าหน่วยงานหรือที่ใดมีเวทีนโยบาย เพื่อจะได้ไปเข้าร่วมถ้ามีโอกาส
การมีส่วนร่วม รู้ว่าตนมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และพิทักษ์ผลประโยชน์ประเทศ
รู้ว่ารัฐมีหน้าที่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการ
จัดท านโยบาย
ตระหนักดีว่าการมีส่วนร่วมในการท านโยบาย ไม่ใช่เกิดจากคนกลุ่มใดกลุ่มเดียว
ตระหนักดีว่าการมีส่วนร่วมในการจัดท านโยบายเป็นความรับผิดชอบของประชาชน
อย่างเรา
ต้องการและพร้อมเข้าร่วมเวทีนโยบายทุกครั้งที่มีโอกาส
ต้องการและพร้อมเป็นผู้จัด / ร่วมจัดเวทีสาธารณะในทุกระดับ
ตัวชี้วัดและรายละเอียดดังกล่าวถูกพัฒนาเป็นแบบสอบถามและน าไปตรวจสอบความเที่ยงตรง
เชิงเนื้อหา (Content Validity) ที่ปรึกษาและคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคนของสถาบันพระปกเกล้า เป็น
ผู้พิจารณาเนื้อหาแบบสอบถาม และมีการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) กับกลุ่มทดลองจ านวน 30 คน
ด้วยวิธี Cronbach's alpha ได้ค่า .922 ซึ่งน าไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ (รายละเอียดแบบสอบถามดัง
ภาคผนวก 2)
28