Page 55 - kpiebook65021
P. 55
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
3.3 กระบวนกำรพัฒนำข้อเสนอทิศทำง
3.3.1 แหล่งข้อมูลและเครื่องมือ
แหล่งข้อมูลส าหรับกระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทางแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิ สืบค้น
ได้จากเว็บไซต์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แผนยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อทราบข้อมูลของบริบทพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีและมีกรอบส าหรับวิเคราะห์
ข้อมูลที่ค้นพบของจังหวัดจันทบุรี โดยน าข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม จากกระบวนการ
รวบรวมความต้องการมาวิเคราะห์ความสอดคล้องกับแผนดังกล่าว
ส่วนที่สอง เป็นการเก็บข้อมูลจากวิธีการถอดบทเรียนจากทีมวิจัยในพื้นที่จ านวน 3 ท่าน หลัง
7
กระบวนการเก็บแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ประเด็นได้แก่ 1) สรุปผลการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และ
กระบวนการเก็บข้อมูลที่ได้ด าเนินการจริง 2) สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการที่วางแผนไว้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
3) สาเหตุที่ท าให้การด าเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง 4) สิ่งที่ควรแก้ไข และ 5) การด าเนินการต่อไปใน
อนาคต แล้วน าเสนอผลในรูปแบบการบรรยาย
อย่างไรก็ดี กระบวนการนี้ผู้วิจัยออกแบบให้มีวิธีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อน าเสนอผลการเก็บแบบ
สัมภาษณ์และน าข้อมูลนั้นมาพัฒนาข้อเสนอทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยเชิญผู้ที่ตอบแบบสอบถามจ านวน
23 ท่าน ตลอดจนภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท าหน้าที่
เกี่ยวกับการจัดท าแผน แต่ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ท าให้กระบวนการดังกล่าวไม่อาจจัด
ขึ้นได้ตามแผนที่วางไว้ กระบวนการนี้จึงจบลงที่การวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อเสนอจากประชาชนกับ
แผนพัฒนาของรัฐ ยังไม่สามารถพัฒนาข้อเสนอทิศทางการพัฒนาได้
3.3.2 วิธีกำรวิเครำะห์และน ำเสนอข้อมูล
ใช้การวิเคราะห์โดยการจ าแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ที่มีความสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์หรือประเด็นการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ และแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
ถอดบทเรียนร่วมกัน ณ ช่องทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 9.30 -11.00 น.
7
30