Page 58 - kpiebook65021
P. 58

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                                                           บทที่ 4
                                                ข้อมูลพื้นฐำนจังหวัดจันทบุรี



                        เนื้อหาส่วนนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดจันทบุรี จากการค้นคว้าทางเอกสารเพื่อแสดงข้อมูลภาพรวม
                 ของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ภาพรวมจังหวัดจันทบุรี และ 2) ประเด็นปัญหาและ
                 ความต้องการในแก้ไขปัญหาในระดับภาพรวมของจังหวัดจันทบุรี


                 4.1 ภำพรวมจังหวัดจันทบุรี

                        “น้ าตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จ-
                 พระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี” จากค าขวัญจังหวัดจันทบุรีได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวม

                 ในการบ่งบอกถึงสัญลักษณ์และจุดเด่นของจังหวัด

                        จากแผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561 - 2565 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2564) และสรุปข้อมูลจังหวัด
                 พ.ศ. 2563 จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดในภาคตะวันออก ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกของอ่าวไทย
                 อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 245 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,338 ตารางกิโลเมตร
                 หรือประมาณ 3,961,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออกและเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้ง

                 ประเทศ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อ าเภอ 76 ต าบล 731 หมู่บ้าน 33 ชุมชน องค์กรปกครองส่วน
                 ท้องถิ่น จ านวน 82 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลต าบล
                 42 แห่ง และองค์การบริหารส่วนต าบล 34 แห่ง ประชากรรวม 537,685 คน ชาย 263,484 คน คิดเป็นร้อยละ
                 49 และหญิง 274,201 คน คิดเป็นร้อยละ 51

                        ส าหรับข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) ณ ราคาประจ าปี

                 ภาคการเกษตร ใน พ.ศ. 2561 ของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า
                 มีมูลค่า 65,117 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.19 เป็นอันดับสูงสุดของประเทศ และนอกภาคการเกษตร พบว่า
                 มีมูลค่า 55,041 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.81 ประกอบด้วยภาคบริการ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 39.13

                 มีมูลค่า 47,009 ล้านบาท และภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 6.68 มีมูลค่า 8,032 ล้านบาท ดังนั้น
                 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรีจึงขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นส าคัญ โดยมีพื้นที่ท าการเกษตร จ านวน
                 2,285,014 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57.68 ของพื้นที่ทั้งหมด 3,961,250 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลยืนต้น คิดเป็น
                 ร้อยละ 73.93 พืชไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.86 พืชเกษตรอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 8.48 ที่นา คิดเป็นร้อยละ 1.41
                 และสวนผักและไม้ดอก คิดเป็นร้อยละ 0.32


                        อีกทั้ง พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ทุเรียน ล าไย มังคุด และยางพารา ผลผลิตด้าน
                 ประมงที่ส าคัญคือ การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาด า ซึ่งมีพื้นที่เพาะเลี้ยง คิดเป็นร้อยละ 4.02 ของ
                 พื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า
                 พ.ศ. 2559 จังหวัดจันทบุรีมีผลผลิตกุ้ง 35,483 ตัน สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ท าให้จังหวัดจันทบุรีเป็น
                 ฐานการผลิตกุ้งทะเลที่ส าคัญล าดับต้น ๆ ของประเทศและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้ง

                 ตลอดสายการผลิต อีกทั้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังได้รวมตัวกันจัดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออก ซึ่งใน พ.ศ. 2564







                                                             33
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63