Page 63 - kpiebook65021
P. 63
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
7) ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าทางการเกษตรมีราคาสูง เกษตรกรขายสินค้าทางการเกษตรได้ไม่คุ้มค่า
การลงทุน
4.2.2 ปัญหำช้ำงป่ำ
ข้อมูลจากการประเมินภาพถ่ายทางดาวเทียมของส่วนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ส านัก
อนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบว่า พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของช้างป่าที่มี
ความเหมาะสมมาก ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบ ซึ่ง
สอดคล้องกับพฤติกรรมและลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่าที่มักจะหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงชัน ท า
ให้สิ้นเปลืองพลังงานในการด ารงชีวิตมากกว่าการอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมของพื้นที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนที่มีแหล่งน้ า แหล่งโป่ง และมีสภาพพื้นที่ป่าที่เหมาะสมมากต่อการใช้
ประโยชน์ของช้างป่าด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกรุกล้ าทั้งบริเวณรอบชายป่าและการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า
เปลี่ยนแปลงพื้นที่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ท าให้ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างป่าจึงลดลงเรื่อย ๆ และเป็น
การบีบบังคับให้ช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ชิดเขตพื้นที่ป่า
รวมถึงการที่ชุมชนมีแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการดึงดูดการเข้ามาใช้ประโยชน์ของช้างป่า
และมีแนวโน้มที่ช้างจะอยู่ประจ านอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต่อไป จึงกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรใน
พื้นที่กับช้างป่าที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ซึ่งมีทั้งการที่ช้างป่าเข้ามาท าลายพืชผลการเกษตร หรือ
ท าร้ายราษฎรในพื้นที่ การตอบโต้ของราษฎรที่ท าร้ายช้างป่าท าให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตคนและช้างป่า และ
ทรัพย์สินอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลจากการส ารวจประชากรและโครงสร้างอายุของช้างป่า ในกลุ่มป่าตะวันออก
ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คาดว่า มีประชากรช้างป่า จ านวนทั้งสิ้นราว 500 ตัว และแบ่งออกเป็นฝูงใหญ่ ขนาด
ประชากรในฝูงมากกว่า 20 ตัวขึ้นไป
4.2.3 ปัญหำด้ำนควำมปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ใน พ.ศ. 2563 จังหวัดจันทบุรีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จ านวน 170 ราย (ข้อมูล ณ เดือน
พฤษภาคม 2563) อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งอัตราการเสียชีวิต
ต่อแสนประชากร ใน พ.ศ. 2562 อยู่ที่ร้อยละ 10.229 อยู่ในระดับที่ 3 ในค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ถึงแม้จังหวัด
จะมีมาตรการ/ข้อสั่งการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว สภาพ
การเดินทางที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ผู้ใช้รถใช้ถนนมีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราก าลังเจ้าหน้าที่
ที่รับผิดชอบในการอ านวยความปลอดภัย การบังคับใช้กฎหมายมีจ ากัด งบประมาณในการป้องกันและแก้ไข
มีจ ากัดจึงไม่สามารถดูแล ควบคุมได้อย่างครอบคลุม จึงมีความจ าเป็นที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน
ประชาชน มูลนิธิ อาสาสมัครต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นรูปธรรมและ
มีความต่อเนื่องตลอดทั้งปีจึงจะท าให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในภาพรวมของจังหวัดลดลงได้
4.2.4 ปัญหำกำรกัดเซำะชำยฝั่ง
จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่บนฝั่งและเกาะต่าง ๆ มีแนวเส้นชายฝั่งทะเลรวมทั้งหมด 104.04 กิโลเมตร
มีพื้นที่ที่อยู่ในลักษณะตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่ง พ.ศ. 2558 อยู่ใน 5 อ าเภอ 32 ต าบล โดยมีลักษณะต าบลที่ติดชายฝั่งทะเล จ านวน 9 ต าบล จากผล
38