Page 66 - kpiebook65021
P. 66
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
บทที่ 5
ผลกำรศึกษำภำพรวมระดับจังหวัด
ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ให้ข้อมูลในจังหวัดจันทบุรีที่น าเสนอในบทนี้ เป็นภาพรวม
จากผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 760 ชุด ใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) สภาพพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีในอดีต
2) ความภาคภูมิใจในจังหวัดจันทบุรี 3) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกห้าปีข้างหน้า 4) อนาคต
จังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกสิบปีข้างหน้า 5) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกยี่สิบปี
ข้างหน้า 6) สิ่งที่ห่วงกังวลมากที่สุดต่อภาพอนาคตที่อยากจะเห็น และ 7) สิ่งที่สามารถท าได้เพื่อส่วนรวม
ส าหรับภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามจ านวน 760 ชุด ดังตาราง 5.1
ตำรำง 5.1 ภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามจ าแนกตามต าบลในจังหวัดจันทบุรี
อ ำเภอ ต ำบล (จ ำนวน) ผู้ให้ข้อมูล (จ ำนวนชุด)
เมืองจันทบุรี 11 110
ขลุง 12 120
ท่าใหม่ 14 140
โป่งน้ าร้อน 5 50
มะขาม 6 60
แหลมสิงห์ 7 70
สอยดาว 5 50
แก่งหางแมว 5 50
นายายอาม 6 60
เขาคิชฌกูฎ 5 50
รวม 76 760
5.1 สภำพพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีในอดีต
จากค าถามที่ว่า “อดีตที่ผ่านมา พื้นที่ของท่านเป็นอย่างไร” พบว่า จากข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้
กล่าวถึงอดีตในพื้นที่โดยรวมของจังหวัดจันทบุรี ตามล าดับที่มีการให้ข้อมูลจากมากไปหาน้อยใน 7 ประเด็น
ได้แก่ 1) ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน 2) การประกอบอาชีพ 3) ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
4) ความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ ภัยจากสัตว์ป่า ภัยอื่น ๆ 5) เศรษฐกิจ และ 7) การ
พัฒนาด้านความทันสมัยและเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้
1) ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลให้ความคิดเห็นที่เป็นไปใน
ทิศทางเดียวกันในประเด็นสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานในอดีตนั้นมีลักษณะ คือ
1.1) การคมนาคมไม่สะดวก และไม่มีขนส่งสาธารณะ สามารถแบ่งการเดินทางได้ 2 ส่วนคือ
ทางน้ าที่ต้องใช้เรือหางยาว เรือแจว และทางบกที่สัญจรบนถนน ซึ่งถนนในอดีตเป็นถนนลูกรัง มีฝุ่น เป็นหลุม
41