Page 64 - kpiebook65021
P. 64

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                 การส ารวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า มีแนวชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ
                 ชายฝั่ง ณ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ) จ านวน 2 อ าเภอ 3 ต าบล ประกอบด้วย พื้นที่ต าบล
                 บางชัน อ าเภอขลุง ต าบลเกาะเปริด และต าบลปากน้ าแหลมสิงห์ อ าเภอแหลมสิงห์ รวมทั้งสิ้นเป็นพื้นที่

                 กัดเซาะน้อย 22.82 กิโลเมตร พื้นที่ที่มีการด าเนินการแก้ไขแล้ว เป็นระยะทาง 18.68 กิโลเมตร จากแนว
                 ชายฝั่งทั้งหมด 104.04 กิโลเมตร

                        ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรีได้จัดท าแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) วิสัยทัศน์คือ “ศูนย์กลาง
                 การผลิตและการค้าสินค้าเกษตรคุณภาพศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ เมืองท่องเที่ยวเชิง
                 นิเวศและวิถีชุมชน ประตูการค้าชายแดนสู่ประชาคมอาเซียน” โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

                        1) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับ
                 ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ


                        2) ยกระดับมาตรฐานการผลิต และการตลาดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มขีด
                 ความสามารถในการแข่งขัน

                        3) อ านวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดเตรียมระบบโครงข่าย
                 บริการพื้นฐานเขตเศรษฐกิจชายแดนให้ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน

                        4) สร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว
                 และสิ่งอ านวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวให้เพียงพอและได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ

                        5) ยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการศึกษา พัฒนาอาชีพ และบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชน

                 มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                        6) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
                 โดยประชาชนมีส่วนร่วม

                        ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โครงการในภาพรวมของจังหวัดจึงให้ความส าคัญกับด้านการเกษตรและการ
                 ท่องเที่ยวเป็นอันดับแรก ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัดที่เป็นเมืองผลไม้ที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ
                 โครงการที่ส าคัญส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรคือ การขนส่งสินค้าเกษตรที่อาศัยการคมนาคมทาง

                 ถนนเป็นหลัก ทั้งนี้ โครงการส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นการพัฒนาเส้นทางจากแหล่งผลิตเชื่อมโยงเส้นทางสายหลัก
                 ออกสู่ตลาดเพื่อกระจายหรือจ าหน่ายสินค้า ส าหรับด้านการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการพัฒนา
                 เส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยว การตลาดและการประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้น ยังเป็นการพัฒนาสินค้าทางการ
                 ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเยือนจังหวัดตลอดทั้งปี

                 ส าหรับยุทธศาสตร์รองลงมา ได้แก่ ด้านการค้า การลงทุนชายแดน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อัญมณี
                 ตลอดจนด้านสังคม ตามล าดับ ซึ่งจังหวัดจันทบุรีได้จัดสรรงบประมาณลงสู่ทุกประเด็นยุทธศาสตร์ที่ก าหนดไว้

                        ส าหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จังหวัดจันทบุรีได้วางแนวทางขับเคลื่อนโดยเน้นการพัฒนาจังหวัด
                 ที่สอดรับตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดแข็งและอยู่ในต าแหน่งการพัฒนา (Positioning) ของจังหวัด 4 เสา

                 หลัก ได้แก่ 1) เกษตรกรรม 2) อัญมณีและเครื่องประดับ 3) การค้าชายแดน และ 4) การท่องเที่ยว ซึ่งมี
                 โครงการที่ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) และน าไปสู่การ
                 ปฏิบัติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (แผนพัฒนาจังหวัด, 2564)




                                                             39
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69